พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้ใช้บริการโรงแรม ในเขตจังหวัดเลย

  • ดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์
  • ภวพร วรรณไชย
คำสำคัญ: พฤติกรรมการตัดสินใจ, จังหวัดเลย

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้ใช้บริการโรงแรมในเขตจังหวัดเลย เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจการให้ดีขึ้นและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างเหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุด และศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการโรงแรมในเขตจังหวัดเลย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้ใช้บริการโรงแรมในเขตจังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ใช้บริการโรงแรม ในเขตจังหวัดเลย มีพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการ โดยภาพรวม การตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.90 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน ระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านลักษณะทางกายภาพ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.11 รองลงมา คือ ด้านราคา อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.09 ส่วนด้านที่มีการตัดสินใจต่ำที่สุด คือ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.26 2. ผู้ใช้บริการโรงแรม ในเขตจังหวัดเลยให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการ สรุปได้ว่า ที่พักต้องสะอาด มีการปรับปรุงให้น่าพักอยู่เสมอ ราคาค่าที่พักไม่แพงเกินไป ควรมีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ และท้องถิ่น สภาพภายในโรงแรมต้องดูแลความสะอาดตลอดเวลา มีที่จอดรถสำหรับลูกค้าอย่างเพียงพอ โรงแรมควรจัดทำบัตรสมาชิก เพื่อสะสมแต้ม หรือมีส่วนลดสำหรับสมาชิก มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัย ทรัพย์สิน ของลูกค้าและให้บริการลูกค้าที่รวดเร็วทันใจ พนักงานให้บริการควรพูดจาสุภาพ มีมารยาท มีใจรักในงานบริการ และมีจำนวนเพียงพอต่อการให้บริการ

บรรณานุกรม

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การใช้SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คุณัญญา พรหมปัญญานันท์ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2557). ปัจจัยสื่อสังคมออนไลน์ความสัมพันธ์กับลูกค้าคุณภาพความสัมพันธ์และการรับรู้ถึงคุณภาพของสินค้า ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านเบเกอรี่คาเฟ่ของผู้บริโภคชาวมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธัญพรนภัส แฟงสม. (2556). แนวทางการพัฒนาการตลาดของโรงแรมระดับ 4 ดาวเครือภายในประเทศในเขตเมืองพัทยา.โรงแรมรามาดา เดมา กรุงเทพ.
นิตนา สุริศักดิ์ (2553). การประกอบการเพื่อสังคม: นวัตกรรมทางสังคมของผู้ประกอบการยุคใหม่,วารสาร นักบริหาร, 30(4), 16-20.
ประภัสสร ชัยวัง. (2556). พฤติกรรมการเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน.คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิทยุตสม์ สงค์มาลัย และนิตนา สุริศักดิ์ (2553). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บัตรสมาร์ทเพิร์สในเขตกรุงเทพมหานคร.BU Academic Review. 9(2) : 45 – 53.
ภัทราพร เกษสงข์ . (2549). การวิจัยทางการศึกษา. เลย : มหาวิทยาลยราชภัฏเลย .
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ . (2546). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บรรณกิจ.
สำนักงานสถิติจังหวัดเลย. (2559). สืบค้นวันที่ 5 พฤศจิกายน 2559 จาก http://loei.nso.go.th /loei/index_oldversion.htm.
Rovinelli and Hambleton (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
เผยแพร่แล้ว
2019-12-27