มโนทัศน์เรื่องเกณฑ์ความดีในพุทธปรัชญา

  • สาคร พรหมโคตร
คำสำคัญ: มโนทัศน์, ความดี, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

ความดีหรือความชั่ว มักมีปัญหาเกี่ยวกับความหมายและเกณฑ์ที่จะวินิจฉัย เช่น อะไรและอย่างไร จึงจะเรียกว่าดี อะไรและอย่างไร จึงเรียกว่า ชั่ว แต่ปัญหาเช่นนี้อาจจะมีเฉพาะแต่ในภาษาไทยเท่านั้น ส่วนทางธรรม ที่ใช้คำบัญญัติจากภาษาบาลี ความหมายและเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้นับได้ว่าชันเจน ดังนั้น คำว่า ดีและชั่ว ในภาษาไทย มีความหมายกว้างมาก เฉพาะคำว่า ดี มีความกว้างยิ่งกว่าคำว่าชั่ว คนประพฤติดีมีศีลธรรม ก็เรียกว่าคนดี อาหารอร่อยถูกใจผู้ที่กิน ก็อาจพูดว่า อาหารมื้อนี้ดี เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพหรือทำงานเรียบร้อย คนก็เรียกว่า เครื่องยนต์ดี ไม้ค้อนที่ใช้ได้สำเร็จประโยชน์สมประสงค์ คนก็ว่าค้อนนี้ดี ภาพยนตร์ที่สนุกสนานถูกใจ คนที่ชอบภาพยนตร์เรื่องนี้ดี ภาพเขียนสวยงาม คนก็ว่าภาพนี้ดี หรือถ้าภาพนั้นอาจขายได้ราคาสูง คนก็ว่าภาพนั้นดีเช่นเดียวกัน โรงเรียนที่บริหารงานและมีการสอนได้ผล นักเรียนเก่ง ก็เรียกว่า โรงเรียนดี คนสามคนบอกว่า ดี แต่ความหมายที่ว่าดีนั้นอาจไม่เหมือนกัน คนหนึ่งว่าดี เพราะสวยงามถูกใจ อีกคนหนึ่งว่าดีเพราะเหมาะแก่การใช้งานของเขา ในทำนองเดียวกัน ของที่คนหนึ่งว่า ดี อีกหลายคนอาจบอกว่าไม่ดี ของบางอย่างมองในแง่หนึ่งว่าดี มองในแง่อื่นอาจว่าไม่ดี ความประพฤติหรือการแสดงออกบางอย่าง ในถิ่นหรือสังคมหนึ่งว่าดี อีกถิ่นหรืออีกสังคมหนึ่งว่าไม่ดี ดังนี้เป็นต้น หาที่ยุติไม่ได้ หรืออย่างน้อยไม่ชัดเจน อาจต้องจำแนกเป็นดีทางจริยธรรม ดีในแง่สุนทรียภาพ ดีในแง่เศรษฐกิจนั้นเอง

บรรณานุกรม

เดือน คำดี. (2534). พุทธปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต. (2553). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 36 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระสมปอง มนฺตชาโต (วงษ์สะอาด). (2553). การศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโต้กับพุทธปรัชญาเถรวาท, บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระฤกษ์ดำรงค์ ปญฺญาธโร (จันทร์แสง). (2554). ศึกษาวิเคราะห์และรูปแบบนำเสนอเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ : เรื่องเย้ยฟ้าท้าดิน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประเวศ อินทองปาน. (2553). พุทธปรัชญาในพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Abraham Velez de Cea. (2015). The Criteria of Goodness in the Pali Nikayas and the Nature of Buddhist Ethics, Journal of Buddhist Ethics, Theology Department Georgtown University.
MICHAEL J.SANDEL, JUSTICE WHAT’S THE RICHT THING TO DO? ความยุติธรรม (สฤณี อาชวานันทกุล แปล), (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ openworld, ๒๕๕๔), พิมพ์ครั้งที่แรก, หน้า๑๕-๒๖.
เผยแพร่แล้ว
2019-12-27