ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสวมใส่หมวกนิรภัยของนักศึกษาวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

  • มณีวรรณ บรรลุศิลป์
คำสำคัญ: ปัจจัยที่มีอิทธิพล, หมวกนิรภัย, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการสวมใส่หมวกนิรภัยของนักศึกษาวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการสวมใส่หมวกนิรภัยของนักศึกษาวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 976 คน กำหนดขนาดของ กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ผลวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 62.00 อายุ ระหว่าง 15-18 ปี จำนวน 137 คน คิดเป็นร้อยละ 48.20 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและสาขาวิชาช่างยนต์ มีจำนวนเท่ากัน คือ 71 คน คิดเป็นร้อยละ 25.00 ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 44.40 นักศึกษาสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่ จำนวน 195 คน คิดเป็นร้อยละ 68.70 โดยนักศึกษามีหมวกนิรภัยเป็นของตัวเอง จำนวน 249 คน คิดเป็นร้อยละ 87.70 นักศึกษาเคยประสบอุบัติเหตุมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป จำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 35.56 และไม่เคยถูกจับกุมความผิดเกี่ยวกับหมวกนิรภัย จำนวน 128 คน คิดเป็น ร้อยละ 45.07 ผลการวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับหมวกนิรภัย แสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับหมวกนิรภัยอย่างถูกต้อง โดยทุกคนทราบว่าปัจจุบันมีการบังคับใช้หมวกนิรภัย จำนวน 284 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษาวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม อยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 2.91, S.D = 0.71) สวมหมวกนิรภัยแล้วรู้สึกอึดอัด รำคาญ (x ̅ = 3.18, S.D = 1.97)

บรรณานุกรม

กรมการแพทย์. (2555). สถิติอุบัติเหตุและสาธารณภัยในประเทศไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
บรรจง พลไชย และ อุทัยวรรณ สุกิมานิล. (2554). พฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มูลนิธิไทยโรดส์. (2556). ผลสำรวจอัตราการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักกรยานยนต์ในประเทศไทย ปี 2556. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก. http://trso.thairoads.org/ (สืบค้นวันที่ 12 มกราคม 2560)
ศูนย์วิชาการความปลอดภัย. (2555). หมวกนิรภัยใส่ก่อนบิด. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิชาการความปลอดภัย.
สาลินี นิยมชาติ. (2553). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สมภพ รอตเสียงล้ำ. (2552). พฤติกรรมการสวมหมวกนิภัยของนักเรียน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://brary.cmu.ac.th/ (สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560)
สุรพล พะยอมแย้ม. 2541. จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2543. การปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สํานักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม. (2542). ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน. วารสารไฟฟ้าและอุตสาหกรรม.
เผยแพร่แล้ว
2019-12-27