ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

  • นายไกรลาศ พลไชย
คำสำคัญ: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ, การเลือกตั้งนายก, การมีส่วนร่วมทางการเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 380 คน เครื่องมือที่วิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) กรณีพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ (LSD) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ระดับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3. ผลการเปรียบเทียบระดับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามสถานภาพการสมรส และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r=0.247 เป็นความสัมพันธ์เชิงบวกและขนาดความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ

บรรณานุกรม

ชูศรี วงค์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพ : ไทยเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ณัฐพงศ์ นิลาทะวงศ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกนายกเทศมนตรี ศึกษากรณี : เทศบาลตำบลท่าขอนยางอำเภอกันทรวิชัยจังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม. (การเมืองการปกครอง). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญญฤทธิ์ โชคอุทมพร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรีของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองตราดอำเภอเมือง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (การปกครองท้องถิ่น). จันทบรี : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ภูสิทธิ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพ. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
มยุรี ถนอมสุข. (2554). การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตภาควิชาพลศึกษาและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
มารุต มาลารัตน์. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี : กรณีศึกษาเทศบาล ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ รป.ม. (การเมืองและการปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550). หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น.
วุฒิพงศ์ ชุมเสนา. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเมืองคงอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการศึกษาอิสระ รป.ม. (การปกครองท้องถิ่น). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อำนาจ ศรีประจันทร์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ศึกษาเฉพาะอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. สาขารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Bass, Bemard M. and Avolio, Bruce J. (1990). Manual for the Multifactor Leadership Questionnaire. California : Consulting Psychologists.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York : Harper Collins.
Reddin, William J. (1970). Managerial Effectiveness. New York : McGraw – Hill.
Yukl, Gary A. (1989). Leadership in Organization. Englewood Cliffs : Prentice - Hall.
เผยแพร่แล้ว
2019-12-27