ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านโนนอนามัย อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

  • พระมหาสนอง จำนิล วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
  • กัญญพัชร รัชโน
คำสำคัญ: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ, กองทุนหมู่บ้าน, บ้านโนนอนามัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านโนนอนามัย และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านโนนอนามัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 73 คน ประกอบด้วย ประธานกองทุนหมู่บ้าน 1 คน เหรัญญิก จำนวน 1 คน เลขานุการ 1 คน คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน 11 คน และสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน 59 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 73 ชุด ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (xˉ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านโนนอนามัย อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้าง ปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยด้านเทคโนโลยี ตามลำดับ 2) ปัญหาการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน พบว่า 1) คณะกรรมการไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตัวเอง 2) ขาดผู้นำที่ดี 3) ปัญหาหารส่งเงินล่าช้าของสมาชิก 4) เครื่องคอมพิวเตอร์มีไม่เพียงพอต่อการทำงานของกองทุน 5) การทำบัญชี 6) ขาดความรับผิดชอบ 7) คณะกรรมการแบ่งพรรคแบ่งพวก 8. สมาชิกนำเงินไปใช้จ่ายในการลงทุนไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ 9) งบประมาณในการบริหารจัดการมีปัญหาจำนวนเงินกู้ไม่พอกับความต้องการของสมาชิกกองทุน และ 10) ไม่มีรูปแบบการตรวจสอบบัญชีที่ชัดเจน 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ควรจัดการประชุมทุกเดือน ควรมอบหมายงานให้สมาชิกสักหนึ่งคนเพื่อติดตามสมาชิกที่ส่งเงินล่าช้า ควรจัดอบรมคณะกรรมการเพื่อเพิ่มศักยภาพ ควรเปลี่ยนคณะกรรมการชุดใหม่ และควรทำบัญชีงบดุลให้ถูกต้อง และสามารถตรวจสอบได้

บรรณานุกรม

กองทุนหมู่บ้านโนนอนามัย. (2559). คู่มือการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านโนนอนามัย.
จริยา วงศ์กำแหง. (2880). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุนหมูบ้าน จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน: มหาวิทยาสงขลานครินทร์, บทคัดย่อ.
ปรีชา อุยตระกูล และคณะ. (2554). บทเรียนการบริหารจัดการ: โครงการวิจัยและพัฒนา เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีของกองทุนหมูบ้าน และชุมชนเมือง. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส จํากัด.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล, ดร. (2557). หลักการและวิธีการเขียนงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.
พยุงศักดิ์ ใจตรง. (2555). ความคิดเห็นของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ (ร.ม.): มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยงยุทธ เจริญรัตน์. (2550) การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: ศึกษาการเมือง
ของกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2544). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544. กรุงเทพมหานคร: สหพัฒนการพิมพ์ จำกัด.
เผยแพร่แล้ว
2019-12-27