การพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรี ในเขตตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

  • พระมหาสนอง จำนิล วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
  • มานิตย์ แขวงเมือง
คำสำคัญ: การพัฒนา, บทบาททางการเมือง, สตรี

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรี 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรี ประชากรกลุ่มตัวอย่างคือ คณะผู้บริหาร พนักงานเทศบาลตำบลดงหลวง ผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 59 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (xˉ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรี ในเขตเทศบาลตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ=4.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเลือกตั้ง ด้านการแสดงออกของประชาชน ด้านการเสนอความคิดเห็น ด้านการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร และด้านการจัดตั้งและรวมกลุ่มผลประโยชน์ ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรี ในเขตเทศบาลตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร มีดังนี้ 2.1) ด้านการเลือกตั้ง เสนอว่า ควรไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้ง และตรวจสอบ ผู้ลงสมัครเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริต 2.2) ด้านการเสนอความคิดเห็น เสนอว่า ควรเข้าร่วมเสนอความคิดเห็นในเวทีประชาคมของตำบลทุกครั้งเมื่อมีโอกาส และควรเข้าร่วมรับฟังการประชุมและเสนอความคิดเห็น 2.3) ด้านการจัดตั้งและรวมกลุ่มผลประโยชน์ เสนอว่า ควรชักชวนคนในชุมชนรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มต่างๆ เพื่อทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ส่วนรวม 2.4) ด้านการแสดงออกของประชาชน เสนอว่า ควรเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เทศบาลจัดขึ้น เช่น การฝึกอบรมอาชีพ กิจกรรมวันพ่อและควรชักชวนญาติให้เข้าร่วมกิจกรรม 2.5) ด้านการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร เสนอว่า ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นกับหน่วยงานรัฐ และควรเป็นตัวแทนของประชาชนเพื่อตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ

บรรณานุกรม

กัลยา หนูสาย. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในองค์การ บริหารส่วนตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานการศึกษาอิสระ ทางรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชิงชัย ศิริโวหาร. (2550). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. รายงานการศึกษาอิสระ รป.ม. การปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชุติระ ระบอบ และคณะ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ภูสิทธิ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วรรณี กมลวิทย์ศิริกุล. (2550). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้ในข่าวสารการวิจัยการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ศสิริ อิ่มนพรัตน์. (2555). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพนักงาน ปตท. โรงแยกก๊าซ จังหวัดระยอง. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง และการบริหารจัดการ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
เผยแพร่แล้ว
2019-12-27