การพัฒนาชุดกิจกรรมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแสนพันหมันหย่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

  • นางสาวศศิธร ล่องเลิศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
คำสำคัญ: การพัฒนา, ชุดกิจกรรม, ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแสนพันหมันหย่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแสนพันหมันหย่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาจากนักเรียนที่มีปัญหาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสารถในการเขียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีการหาประสิทธิภาพ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ มีค่า = 3.92, S.D = 0.29 อยู่ในระดับมาก

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรงศึกษาธิการ.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2524). ทฤษฎีบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
กรมวิชาการ. (2539). การประเมินผลจากสภาพจริง (Authentic Assessment). กรุงเทพฯ :กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. กองเทพ เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.
จีรสุดา เลิศปัญญานุช. (2553). การพัฒนาความรู้ด้านไวยากรณ์และความสามารถทางด้านการเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนโดยใช้กระบวนการเขียนตามรูปแบบของ Brookes และ Withrow. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษ). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฏฐา ถิละวัฒน (2547). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการฝึกเขียนแบบเน้นกระบวนการ. สารนิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณทิต, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ, บัณทิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์พริ้นทร์.
นวลใย มีหนู. (2529). การสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำยากเพื่อใช้ในการซ่อมเสริม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนช่องพราน จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2527). การเขียนแบบสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : โครงการตำราคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2536). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : สหมิตรออฟเซต.
ปราณี แซโซ. (2547). การพัฒนาทักษะเขียนภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวการสอนเพื่อ การสื่อสาร. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สำนักวิทยบริการ.
ผดุงชัย ภู่พัฒน์. (2552). การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมิน. ในประมวลสาระชุดวิชาการ ประเมินและการจัดการโครงการประเมิน หน่วยที่ 4 หน้า 169 - 189 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.
พิตรวัลย์ โกวิทวที. (2537). ทักษะและเทคนิคการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงเพชร พฤติกุล. (2548). ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาอังกฤษ). เชียงราย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
รังสรรค์ จันต๊ะ. (2541). เอกสารประกอบการสอนวิชา ศท130: ภาษาไทย. เชียงใหม่: คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาแม่โจ้.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2521). การพพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อุทุมพร จามรมาน. (2550). แบบและเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา: การวิจัยรายกรณี.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อวยพร พานิช. (2543). ภาษาและหลักการเขียนเพื่อการสื่อสาร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Alexander, L.G. (1971). Guided Composition in English Language Teaching.Longman Group. Ltd.
Harris, David G. (1969). Testing English as a second language. New York: McGraw HillBook Company.
Heaton, J.B. (1979). Writing English Language. Tests. 5th ed. London: Longman GroupLimited.
Jacobs, H. L., Zinkgraf, S. A., Wormuth, D. R., Hartfiel, V. F., & Hughey, J. B. (1981). Testing ESL composition; A practical approach. Rowley, MA: Newbury House.
Korman, A. K. (1977). Organizational Behavior. New Jersey: Prentice Hall.
Lado, Robert. (1964). Language Testing. New York: McGraw Hill Book Company.
Raimes, Ann. (1983). Techniques in Teaching Writing. New York: Oxford University Press.
Smith, E.D. and others. (1961). The Educator’s Encycloped. Englewood Cliffs,N.J.: Prentice - Hall.
เผยแพร่แล้ว
2019-12-27