วิเคราะห์พุทธสุนทรียศาสตร์ ในพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง

  • SAENGKEO MANYPHETH มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชูชาติ สุทธะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วิโรจ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ธีระพงษ์ จาตุมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการพุทธสุนทรียศาสตร์
2) เพื่อศึกษาพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง 3) วิเคราะห์พุทธสุนทรียศาสตร์ในพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง

ผลการวิจัยพบว่า สุนทรียศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความงามทั้งในศิลปะและธรรมชาติ ในทางปรัชญาสุนทรียศาสตร์ ก็คือศิลปะที่ว่าด้วยเรื่องมาตรฐานของความงาม กฎเกณฑ์ทางศิลปะ ทฤษฎีอันเกี่ยวกับประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ การแสวงหาคุณค่า ìความงามî คือสถานภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน การชื่นชมผ่านความเข้าใจ และรับรู้ถึงความสมดุล สัดส่วน และแรงดึงดูดของสิ่งๆ นั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ìความงามî ตรงกับคำภาษาบาลีว่า ìไตรลักษณ์, กลฺยาณ, โสภณ, สุนฺทรียî บ่งถึงความงามที่เป็นลักษณะของธรรม ผลจากการปฏิบัติที่ปรากฏต่อผู้ปฏิบัติ โดยไม่จำกัดอายุ เพศ วัยมีอยู่ 3 ประการ คือ งามในเบื้องต้นด้วยศีลและสมาธิ งามในท่ามกลางด้วยวิปัสสนาและมรรคงามในที่สุดด้วยผลและนิพพาน

การสร้างพระพุทธรูปล้านช้างเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีความเชื่อ ความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า ปรากฏในลักษณะเฉพาะของงานศิลปะจนทำให้เกิดเป็นสกุลช่างล้านช้าง ที่มีความประสานสอดคล้องกันระหว่างพุทธศาสนาและปรัชญาศิลปะ ที่ก่อให้เกิดคุณค่าความงามที่ทรงคุณค่าทางพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นนั้นนอกจากสามารถจะมองเห็นได้จากภายนอกแล้วยังสามารถสื่อถึงพุทธจริยาตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่ได้อธิบายไว้ในตำรามหาบุรุษลักษณะที่แสดงถึงลักษณะพิเศษ ของพระพุทธเจ้า 32 ประการ พร้อมทั้งอนุพยัญชนะ 80 ประการ ถือว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการสร้างพระพุทธรูปตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน

บรรณานุกรม

บุญมี แท่นแก้ว. (2546). พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
บุณย์ นิลเกษ. (2523). สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น. โครงการตำรา ฉบับที่ 8. คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยะธรรมโลก. พิมพ์ครั้งที่ 4/2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระแสงแก้ว ปภสฺสโร (มณีเพชร). (2558). พุทธบารมีมณีล้านช้าง. ค้นคว้าอิสระศิลปะนิพนธ์ สาขาพุทธศิลปกรรม. คณะพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอุดม ปญฺาโภ. (2547). การศึกษาวิเคราะห์พุทธศิลป์เชิงสุนทรียศาสตร์: กรณีศึกษาเฉพาะพระพุทธรูปสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จิตร บัวบุศย์. (2507). สกุลศิลปะพระพุทธรูปในประเทศไทย: มรดกวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อุดมศิลป์.
มโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2547). สุนทรียวิจักษณ์ในจิตกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สีลา วิระวงส์ และคณะ. (2510). ตำนานพระบางพระพุทธรูปมิ่งขอน แห่งพระราชอาณาจักรลาว. เวียงจันทน์: แสงปัญญาการพิมพ์.
_________.นิทานขุนบรมราชาธิราช ฉบับที่ 1 ประวัติศาสตร์ลาว ฉบับเดิม. เวียงจันทน์:
แสงปัญญาการพิมพ์.
เผยแพร่แล้ว
2019-10-22