แนวทางฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
สภาพปัญหาเยาวชนไทยยุคโลกาภิวัตน์ทั้งหลายทั้งปวงมาจากความสับสนวุ่นวายทางจิตใจ จิตใจเยาวชน ไม่มั่นคง ไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดมั่นจึงทำให้ยาเสพติดสร้างปัญหาและเป็นภัยคุกคามกับประชากร โดยเฉพาะประชากรที่เป็นเยาวชน และทำให้เกิดผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของทุกประเทศในโลก ประเทศไทยเราเองก็เช่นกัน ยาเสพติดได้แพร่ระบาดและเป็นปัญหาต่อสังคมโลกโดยเฉพาะเยาวชนของไทย ตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน แม้รัฐบาลทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ มีนโยบายปราบปรามและป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง มีบทลงโทษรุนแรงต่อผู้ค้าหรือผู้จำหน่าย แต่ปัญหายาเสพติดก็มิได้หมดไปจากสังคม ยังคงสร้างปัญหาให้กับเยาวชนไทยตลอดเวลาจนเกิดเป็นปัญหาวิกฤตสับสนหลายอย่างทั้งในระดับบุคคล และระดับประเทศที่ยังแก้ปัญหาไม่ค่อยได้ผล ทำให้ปัญหาต่างๆในสังคมไทยมากยิ่งขึ้น เพราะการแก้ปัญหาส่วนมากเป็นการแก้ทางวัตถุซึ่งมุ่งเอาการบริโภคเป็นใหญ่
การแก้ปัญหาพื้นฐานทางด้านจิตใจ ซึ่งการที่จะยับยั้งให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติดและฟื้นฟูสมรรถนะผู้ติดยาเสพติดได้แก่การพัฒนาเยาวชนให้ผูกพันกับหลักพุทธธรรมและยึดมั่นในหลักศาสนา หลักธรรมคำสอน และพระสงฆ์จะเป็นผู้ชี้ทางและเป็นผู้นำทางทางจิตใจของเยาวชนไทย เป็นผู้อธิบายค่านิยมที่ถูกต้อง ผู้อธิบายความดี ความชั่ว ความจริงของโลกและความสุขอันแท้จริงของชีวิต เป็นผู้ชี้นำความสว่าง ความสงบ ทั้งแก่เยาวชน และแก่คนไทยทุกคนให้พบแต่ความสุขความเจริญ
บรรณานุกรม
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2541). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏพระนคร.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ. พิมพ์ ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). การสร้างสรรค์ปัญญา เพื่ออนาคตของมนุษย์ชาติ. กรุงเทพมหานคร:ธรรมสภา.
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528. ราชกิจจาณุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา 102.154. 2528.
ราชบัณฑิตยสถาน สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน 2542. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2558). แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.