หลักธรรมกับการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งหรือการทำนุบำรุงชุมชนให้เจริญซึ่งเป็นหลักการสากลที่นำพาคนชุมชน สังคมไปสู่เป้าหมายที่เป็นความสุข ชุมชนเข้มแข็งต้องมีหลักธรรมที่สำคัญในชุมชน ข้อนี้เป็นหลักธรรมที่ใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามนโยบายที่ได้วางเอาไว้โดยการกำหนดเป้าหมายของสังคมว่าจะเน้นอะไรและสุดท้ายสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นภายในสังคมชุมชนประเทศชาติที่ยั่งยืน ประกอบด้วยหลักธรรม คือ จักร 4, ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4, อิทธิบาท 4, พละ 5, หลักธรรมที่ใช้เพื่อพัฒนาสังคมหรือช่วยสงเคราะห์คนในชุมชน คือ หลักสังคหวัตถุ 4 หลักธรรมที่จะให้ผู้บริหารได้มีวิจารณญาณ คือ อคติ 4, หลักพรหมวิหาร 4 หลักธรรมที่ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรให้มีความมั่นคงเจริญก้าวหน้า คือ ฆราวาสธรรม 4 การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งตามแนววิถีพุทธ เป็นทิศทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานการพึ่งตนเองโดยอาศัยกระบวนการจัดการชุมชนในการพัฒนาด้านต่างๆโดยมีวิธีคิดที่มีพื้นฐานจากระบบคิดเดิมของชุมชนหรือภูมิปัญญาพื้นบ้านผสมผสานเข้ากับวิธีคิดและระบบการจัดการของสังคม
บรรณานุกรม
ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์, (2543). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งประชาคม ประชาสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2528). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2540). แนวสังเขปของโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เพา เวอร์ พริ้นท์
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2541). การพัฒนาชุมชนแบบจัดการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยาพงศ์. ระบบการศึกษากับชุมชน : กรอบความคิดและข้อเสนอเพื่อการวิจัย.