การประยุกต์ใช้ศีล 5 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

  • พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • พระสุวิจักขณ์ กุลยศชยังกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • พระสมพร อนาลโย (สะอิ้งรัมย์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
คำสำคัญ: การประยุกต์, พัฒนาคุณภาพชีวิต, บุคลากรวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการ เรื่อง ìการประยุกต์ใช้ศีล 5 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์î ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ คือ การปรับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้าหาศาสตร์สมัยใหม่ โดยการใช้ศาสตร์สมัยใหม่เป็นตัวตั้งแล้วนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นส่วนเสริม เพื่อช่วยให้เกิดความสมบูรณ์ทางด้านศีลธรรมของบุคลากรวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ การประยุกต์ใช้ศีล 5 จึงเป็นการปรับใช้ประโยชน์ในศีล 5 ซึ่งเป็นการปรับใช้หลักธรรมให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ในการดำเนินชีวิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ เมื่อปฏิบัติศีล 5 ก็จะเป็นมนุษย์ที่ความสมบูรณ์ มีกายเป็นปกติ มีวาจาเป็นปกติ มีใจเป็นปกติ และจะต้องมีความสามัคคี ไม่มีความขัดแย้งชิงดีชิงเด่นกัน ก็จะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ได้ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

บรรณานุกรม

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แก้วธารา. (2557). ศีล 5 ชุบชีวิตลิขิตกรรม. กรุงเทพมหานคร: ปราชญ์สำนักพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระพุทธโฆสเถระ. (2548). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธนาเพรส.
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2557). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระศรีคัมภีรญาณ. (2554). การศึกษาวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว). (2540). ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ประดิพัทธ์.
พระมหาสนอง ปัจโจปการี. (2553). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งมหาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
พระอธิการกิตติ ยุตฺติธโร. (2559). การประยุกต์ศีล 5 เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตของชุมชนสาวะถี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมาพร สุขสำอาง. (ม.ป.ป). พจนานุกรมไทย (ฉบับนักเรียน). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ซันไชน์จัดพิมพ์.
เผยแพร่แล้ว
2020-03-28