กระบวนการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะเพื่อการลดการฆ่าตัวตายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน

  • สามารถ บุญรัตน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
คำสำคัญ: การเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะ, การลดการฆ่าตัวตาย, องค์กรท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบาย เพื่อศึกษากลไกลและกระบวนการ และรูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะเพื่อการลดการฆ่าตัวตายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน ได้ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในพื้นที่เทศบาลตำบลอุโมงค์จำนวน 20 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการจำแนก จัดระเบียบข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา พบว่า เทศบาลตำบลอุโมงค์มีนโยบายการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะเพื่อการลดการฆ่าตัวตายด้านสุขภาวะทางกายด้วยการพัฒนาแหล่งออกกำลังกาย การป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย ด้านสุขภาวะทางใจ พบว่า การส่งเสริมการพัฒนาจิตใจที่เป็นสุข ผ่อนคลายตามหลักพระพุทธศาสนา ด้านสุขภาวะทางสังคม พบว่า มีการบริการทางสังคมที่ดี และการส่งเสริมระบบการอยู่ร่วมกันด้วยดีในครอบครัว ชุมชน สังคม และในโลก และด้านสุขภาวะทางปัญญามีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตให้เกิดความสุขเข้าถึงความจริงในการเป็นมนุษย์ สำหรับกลไกและกระบวนการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะ พบว่า 1) การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 2) การสนับสนุนกิจกรรมและโครงการตามแผนงบประมาณท้องถิ่น 3) การอบรมและพัฒนาสมาชิกชมรมอาสาปันสุข 4) การพัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ 5) การจัดตั้งและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ประจำชุมชนและกลุ่มอาสาสมัครปันสุขเทศบาลตำบลอุโมงค์และ 6)การผลักดันและตระหนักถึงการสร้างระบบการเรียนรู้และสุขภาวะตามวิสัยทัศน์ของเทศบาล และผลการวิเคราะห์รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะเพื่อการลดการฆ่าตัวตายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะทางกายเพื่อการลดการฆ่าตัวตาย พบว่า การเรียนรู้และสุขภาวะทางกายโดยจัดหาพื้นที่การออกกำลังกาย การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย สร้างฐานทางเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะทางใจ พบว่า การสร้างศักยภาพให้กับคณะสงฆ์ในตำบลอุโมงค์ต่อการดำเนินกิจกรรมด้วยอาศัยธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักชัยอันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะทางสังคม พบว่า เทศบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า ìทุกภาคีมีส่วนร่วมî ที่มองระบบทางสังคมในการทำหน้าที่สร้างความอบอุ่น ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน จึงได้สร้างเครือข่ายของชมรมต่างๆให้เข้ามาเติมเต็มในสิ่งที่ครอบครัวหายไป และรูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะทางปัญญา พบว่า การพัฒนาหลักสูตรตายก่อนตายที่สามารถสอนให้ประชาชนรู้จักคุณค่าของชีวิต เปิดปัญญามองหาคุณค่าในการดำรงชีวิตอยู่ต่อไปที่มีความหมายต่ออนุชนรุ่นหลังโดยเฉพาะลูกหลานที่รัก และมีชีวิตที่พร้อมทำหน้าที่ในการตาอย่างสมเกียรติอย่างมีคุณค่า

ประวัติผู้แต่ง

สามารถ บุญรัตน์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบาย เพื่อศึกษากลไกลและกระบวนการ และรูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะเพื่อการลดการฆ่าตัวตายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน ได้ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในพื้นที่เทศบาลตำบลอุโมงค์จำนวน 20 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการจำแนก จัดระเบียบข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา พบว่า เทศบาลตำบลอุโมงค์มีนโยบายการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะเพื่อการลดการฆ่าตัวตายด้านสุขภาวะทางกายด้วยการพัฒนาแหล่งออกกำลังกาย การป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย ด้านสุขภาวะทางใจ พบว่า การส่งเสริมการพัฒนาจิตใจที่เป็นสุข ผ่อนคลายตามหลักพระพุทธศาสนา ด้านสุขภาวะทางสังคม พบว่า มีการบริการทางสังคมที่ดี และการส่งเสริมระบบการอยู่ร่วมกันด้วยดีในครอบครัว ชุมชน สังคม และในโลก และด้านสุขภาวะทางปัญญามีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตให้เกิดความสุขเข้าถึงความจริงในการเป็นมนุษย์ สำหรับกลไกและกระบวนการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะ พบว่า 1) การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 2) การสนับสนุนกิจกรรมและโครงการตามแผนงบประมาณท้องถิ่น 3) การอบรมและพัฒนาสมาชิกชมรมอาสาปันสุข 4) การพัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ 5) การจัดตั้งและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ประจำชุมชนและกลุ่มอาสาสมัครปันสุขเทศบาลตำบลอุโมงค์และ 6)การผลักดันและตระหนักถึงการสร้างระบบการเรียนรู้และสุขภาวะตามวิสัยทัศน์ของเทศบาล และผลการวิเคราะห์รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะเพื่อการลดการฆ่าตัวตายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะทางกายเพื่อการลดการฆ่าตัวตาย พบว่า การเรียนรู้และสุขภาวะทางกายโดยจัดหาพื้นที่การออกกำลังกาย การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย สร้างฐานทางเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะทางใจ พบว่า การสร้างศักยภาพให้กับคณะสงฆ์ในตำบลอุโมงค์ต่อการดำเนินกิจกรรมด้วยอาศัยธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักชัยอันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะทางสังคม พบว่า เทศบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า ìทุกภาคีมีส่วนร่วมî ที่มองระบบทางสังคมในการทำหน้าที่สร้างความอบอุ่น ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน จึงได้สร้างเครือข่ายของชมรมต่างๆให้เข้ามาเติมเต็มในสิ่งที่ครอบครัวหายไป และรูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะทางปัญญา พบว่า การพัฒนาหลักสูตรตายก่อนตายที่สามารถสอนให้ประชาชนรู้จักคุณค่าของชีวิต เปิดปัญญามองหาคุณค่าในการดำรงชีวิตอยู่ต่อไปที่มีความหมายต่ออนุชนรุ่นหลังโดยเฉพาะลูกหลานที่รัก และมีชีวิตที่พร้อมทำหน้าที่ในการตาอย่างสมเกียรติอย่างมีคุณค่า

บรรณานุกรม

บุษบา อนุศักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. งานส่งเสริมสุขภาพจิตและจิตเวช สสจ.ลำพูน. 2559. เอกสารอัดสำเนา.
ปาณิภา สุขสม. แนวคิดทางสังคมวิทยากับการศึกษาอาชญากรรม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4(3), 193.
ปัณณธร ชัชวรัตน์. (2553).ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. รายงานวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี: สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
นันท์นภัส ประสานทอง. การฆ่าตัวตาย (Suicide). สานักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข : พฤษภาคม 2554.
พระสุทิตย์ อาภากโร. รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558.
พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557.
รณชัย โตสมภาค. แนวทางการป้องกันและการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายในระบบโรงเรียนเพื่อสุขภาพจิตที่ดี. ใน บทความวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2559.
มธุรส มุ่งมิตร. พุทธศาสนากับการฆ่าตัวตาย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.li.mahidol.ac.th [7 กันยายน 2560].
ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2556). ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในการจัดการสุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ จิรบูรณ์ โตสงวน หทัยชนก สุมาลี. (2553). บาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสร้างเสริมสุขภาพและ ข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่องการกระจายอำนาจด้านการสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง. พุทธจิตวิทยาบูรณาการ : แนวคิดและการสร้างตัวแบบเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตาย ของวัยรุ่นในสังคมสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 5(3), 15-16.
สำนักงานสถิติจังหวัดลำพูน. (2561). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดลำพูนตามแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน ปี พ.ศ. 2558–2561. สำนักงานจังหวัดลำพูน.
สำพัชรี วิลาชัย พร้อมคณะ. (2549). ปัจจัยในการพยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มวัยทำงาน. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
เอื้อมเดือน ธีรวุฒิกุลรักษ์. (2549). รูปแบบเครือข่ายพระสงฆ์ในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 14(1), 32-37.
อภิชัย มงคล และคณะ. (2553). ศึกษาวิจัยการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายเขตภาคเหนือตอนบน: ปัจจัยทางวัฒนธรรม. รายงานการวิจัย. กรมสุขภาพจิต: กระทรวงสาธารณสุข.
อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิตและคณะ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานอัตราการฆ่าตัวตายของประเทศไทย 10 จังหวัดแรกที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด. [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล : https://www.suicidethai.com/report/ [23 สิงหาคม 2560].
อนุพงศ์ คำมา. การฆ่าตัวตายสำเร็จ: กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 58(1).
เผยแพร่แล้ว
2020-03-28