การพัฒนากิจกรรมจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

  • พระภาณณริณทร์ ภูริญาโณ (ธรรมปันโย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
คำสำคัญ: การจัดการขยะ, หลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการขยะของชุมชน และ 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์และแนวคำถามในการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 25 คน ได้แก่ 1) กลุ่มผู้นำและกลุ่มชุมชนจำนวน 15 คน 2) กลุ่มภาครัฐ เอกชน พระภิกษุ ผู้ประกอบธุรกิจ และเยาวชน จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการขยะของชุมชน เป็นการจัดการขยะที่มีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามบริบทของชุมชน ในอดีตการจัดการขยะของชุมชนมีการจัดการขยะตามวิถีชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันเทศบาลตำบลลวงเหนือได้ส่งเสริมการจัดการขยะในระดับครัวเรือน โดยให้มีการคัดแยกขยะเปียก ขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายที่เป็นมลพิษ 2) การพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ขั้นตอนที่ 1 ประชุมวิเคราะห์ปัญหาการจัดการขยะในชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างจิตสำนึกโดยการเรียนรู้จากชุมชนต้นแบบ ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก กระเป๋าจากซองกาแฟ และกิจกรรมทำสบู่จากกากกาแฟ ขั้นตอนที่ 4 สรุปและประเมินผลจากกิจกรรม ขั้นตอนที่ 5 การขยายผลการจัดกิจกรรม

บรรณานุกรม

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564).กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟพริ้นท์.

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2565. (อัดสำเนา).

กรรณิการ์ ชูขันธ์. (2554). การศึกษาระบบการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทรงศักดิ์ วลัยใจ. (2564). กระบวนการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนมีส่วนร่วมเทศบาลตำบลเวียงพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ทวีศักดิ์ คำดี (2567). ผู้ใหญ่บ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 11 กุมภาพันธ์.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุ่นเรือน เล็กน้อย. (2564). การจัดการขยะชุมชนภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 15 (2), 362-373.

นงนุช ศรีสุข และเบญญาดา กระจ่างแจ้ง. (2566). การจัดการขยะฐานศูนย์ของชุมชนภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลปะตง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5 (4), 1011-1026.

พระศักดิ์ชัย จิรสีโล (วังแง่) (2564) พัฒนาจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอยของตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รวิวรรณ คำยอดใจ. (2567). ประชาชนบ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 11 กุมภาพันธ์.

รัษฎากร วินิจกุล และคณะ. (2567). การบริหารจัดการขยะ (Zero Waste): กรณีศึกษาชุมชนต้นแบบ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 8 (1), 120-132.

ศรีสกุล โกมลโรจน์ และวีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2567). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ไร้แผ่นดิน: กรณีศึกษาหมู่ที่สอง ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์. 7 (2), 231-264.

ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์และคณะ (2562) การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะครบวงจรด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) 2562

สหัทยา วิเศษ และคณะ. (2565). การพัฒนานวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 7 (1), 80-99.

สิชาพัชร์ วงค์ใหม่รัตนกร. (2567). หัวหน้าฝ่ายงานสาธารณสุข เทศบาลตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 21 กุมภาพันธ์.
เอกสารจากเทศบาลตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่, วันที่ 11 สิงหาคม 2566. (อัดสำเนา).
เผยแพร่แล้ว
2024-08-17