ประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของประชาชนตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในการลดความเหลื่อมล้ำตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดระบบสวัสดิการของภาครัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 382 คน และใช้แบบสัมภาษณ์ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยภาพรวมทั้ง 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้าน ได้แก่ ด้านรายจ่าย ด้านการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสวัสดิการสังคม ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อปีที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) หลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา สามารถนำมาเป็นแนวทางการจัดระบบสวัสดิการของภาครัฐเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
บรรณานุกรม
ขวัญทิพย์ แววสง่า. (2563). การศึกษาการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนวัฒน์ กิดา. (2565). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลเวียงพร้าวอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฏฐภัทร์ กิ่งเนตร, พรชนก เทพขาม, และณัฐนรี มณีจักร. (2562). ความเหลื่อมล้ำไทย ทำไมไม่เท่าเทียม. ธนาคารแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2567, จาก http://www. thaipublica.org /2020/01/bot-report-inequality03/
พระสมโชค คุตฺตธมฺโม (เกื้อกลิ่น) สิทธิโชค ปาณะศร พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล และพระมหาธนัญกรณ์ จนฺทวณฺโณ. (2565). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการเสริมสร้างการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลเขาตอก อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ . 7 (2) : 928-935.
ชัยวัฒน์ จุวรรณ. (2564). การประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ไทยคู่ฟ้า. (2561). มาตรการสวัสดิการแห่งรัฐนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน: ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนในสังคมไทย. วารสารสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. 2: 1-4.
สมชัย จิตสุชน. (2560). โครงการการศึกษาตลาดแรงงานไทยเพื่อยกระดับคุณภาพแรงงานและผลักดันประเทศให้พ้นกับดักรายได้ปานกลาง .รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สุวรรณี แย้มพราย. (2561). การประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกรณีศึกษาเขตลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ.
วิษณุ ปัญญายงค์. (2561). “การศึกษาการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา” วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. องค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย, สภาพทั่วไป. [ออนไลน์] แหล่งที่มา :
https://www.jampawai.go.th/?page_id=2 [15 ตุลาคม 2565]. Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.