สัญลักษณ์เหนือธรรมชาติ : ตำนานเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ ในนวนิยายเรื่องนาคราช

  • พระครูธรรมธรอังคาร จิราภรณ์กานดา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระรชต มาตรสอน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาชรันดร์ สาระกูล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: สัญลักษณ์เหนือธรรมชาติ, ตำนาน, เรื่องเล่า, นวนิยาย, นาคราช

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัญลักษณ์เหนือธรรมชาติ: ตำนานเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายเรื่องนาคราช ของแก้วเก้า โดยศึกษาผ่านกรอบแนวคิดทฤษฎีคติชนวิทยา ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ 1) พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์: สัญลักษณ์แห่งตำนานบนความเชื่อเหนือธรรมชาติ พบว่าเป็นการถ่ายทอดความเชื่อพิธีกรรมบูชาพญานาคที่เป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองมายด้วยการผูกเรื่องเชื่อมโยงกับความเชื่อ พิธีกรรม เรื่องเล่าที่มีความเหนือธรรมชาติ 2) พญานาค: สัญลักษณ์วัตถุแห่งความศักดิ์สิทธิ์ พบว่าเป็นการนำเสนอความเชื่อเรื่องพญานาคที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของเมืองมาย   โดยมีเรื่องเล่าและตำนานเกี่ยวกับพญานาคที่มีมาตั้งแต่โบราณ 3) พญานาค: สัญลักษณ์ตำนานสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ พบว่านำเสนอความเชื่อเรื่องพญานาคโดยยึดโยงโลกทัศน์เดิมกับความมหัศจรรย์ของพิธีกรรมทางศาสนา  เป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณในพื้นที่ทางวัฒนธรรม ตามความเชื่อของกลุ่มคนที่ให้ความเคารพกราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล 4) ตำนานเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์: การล่มสลายของเมืองมาย พบว่ามีสาเหตุการล่มสลายเนื่องจากเจ้าฟ้าเมืองมายในสมัยก่อนต้องการจะลบล้างความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค โดยไม่มีการบวงสรวงบูชาพญานาคเช่นในอดีต ท้ายที่สุดแล้วเมืองมายก็ล่มสลายลงตามคำสาปของพญานาค

บรรณานุกรม

กิตติยา คุณารักษ์. (2664). พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของตรี อภิรุม : ความหมายและการประกอบสร้าง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

แก้วเก้า. (2556). นาคราช. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: อักษรโสภณ.

จิตรกร เอมพันธ์. (2545). พญานาค เจ้าแห่งแม่น้ำโขง : พิธีกรรมกับระบบความเชื่อพื้นบ้านแห่งวัฒนธรรม อีสาน. ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตรลดา สุวัตถิกุล. (2526). วรรณกรรมไทยร่วมสมัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชานนท์ ไชยทองดี. (2558). “นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า : อัตลักษณ์และความหมายทางวัฒนธรรมในจังหวัด ศรีสะเกษ”. วารสารวิถีสังคมมนุษย์ ปีที่. 3(1), 162-181.

นิตยา วรรณกิตร์. (2563). พินิจคติและคนด้วยศาสตร์คติชนวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. ฉบับปรับปรุง. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
ปฐม หงส์สุวรรณ. มองคติชน มุมสังคม. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พยุงพร นนทวิศรุต. (2555). ตำนานผีเจ้านาย : พลวัตของเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์กับการสร้างพื้นที่ทางสังคมใน ชุมชนชายแดนไทย. กรุงเทพมหาย: พิมพ์ลักษณ์.

พยุงพร ศรีจันทวงษ์ และคณะ. (2562). เรื่องเล่าภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ในท้องถิ่น อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย : ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ศิราพร ณ ถลาง. (2560). ประเพณีสร้างสรรค์ในสังคมไทยร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ศิราพร ณ ถลาง. (2562). คติชนสร้างสรรค์ บทสังเคราะห์และทฤษฎี พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพมหานคร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2522). “นาค” ความรู้คือประทีป เล่ม 4. กรุงเทพฯ: บริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศ ไทยจำกัด.

หัตถกาญจน์ อารีศิลป. (2556). สัจนิยมมหัศจรรย์ในเรื่องสั้น “เงาแห่งฝน”: ใต้ “เงา”แห่งลัทธิอาณานิคม. วารสารมนุษยศาสตร์. 20(ฉบับพิเศษ), 74–109.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). พื้นที่ในทฤษฎีสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์. 12(2), 65–160.

อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2537). โลกทัศน์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

อาทิตย์ แวงโส. (2564). เรื่องเล่าเชิงนิเวศกับการสร้างภูมิทัศน์วัฒนธรรมในชุมชนจังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เผยแพร่แล้ว
2024-08-17