สถานภาพสัตตภัณฑ์ เครื่องสักการบูชาล้านนาของชาวไทยวน เมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

  • พระธีทัต แจ้ใจ นักวิจัยอิสระ
  • พระนคร ปัญญาวชิโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เยื้อง ปั้นเหน่งเพ็ชร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระอำนาจ พุทธอาสน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: สัตตภัณฑ, เครื่องสักการบูชา, ชาวไทยวนเมืองเมียวดี

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาบทบาทของ ìสัตตภัณฑ์î ในชุมชนชาวไทยวนเมืองเมียวดี ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องสักการบูชาและสัญลักษณ์ของอัตลักษณ์วัฒนธรรมล้านนา การศึกษาเน้นที่ 1) ลักษณะสัตตภัณฑ์ในพุทธศาสนา 2) รูปแบบสัตตภัณฑ์ในชุมชนชาวไทยวน 3) บริบทการใช้สัตตภัณฑ์ โดยใช้กรอบแนวคิดด้านวัฒนธรรมและการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกับการสังเกตและสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สัตตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีรูปแบบสามเหลี่ยม ทำจากไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี ด้วยลวดลายดั้งเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงตามศิลปกรรมของเมียนมา 2) บริบทการใช้สัตตภัณฑ์ยังคงสถานะเป็นเครื่องสักการบูชาและสัญลักษณ์วัฒนธรรมที่แสดงอัตลักษณ์ของชุมชนชาวไทยวนในรัฐกะเหรี่ยง 3) การอนุรักษ์สัตตภัณฑ์เน้นการดูแลรักษาตามสภาพการใช้งาน บทความเสนอแนวทางการอนุรักษ์สัตตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับบริบทสังคมไทยวนผ่านการจัดการผู้ถ่ายทอด ผู้ใช้ และผู้ดูแลรักษา รวมถึงการสร้างพื้นที่เรียนรู้และเครือข่ายผู้อนุรักษ์ เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่าและอนุรักษ์สัตตภัณฑ์อย่างเป็นระบบ มั่นคง และยั่งยืน

บรรณานุกรม

ประทีป พืชทองหลาง และญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. (2560). โครงการสืบค้นและจัดเก็บข้อมูลสัตตภัณฑ์ล้านนา. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 39(2), 94-110.

พระธีทัต ธีรภัทโท (แจ้ใจ), พระนคร ปัญญาวชิโร (ปรังฤทธิ์), ดร., พระวิมลมุนี. (2565). การเคลื่อนไหวของครูบาขาวปีในชุมชนชาวไทยวน รัฐกะเหรี่ยง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “พระพุทธศาสนากับแนวโน้มโลกยุคใหม่: วิถีครูบาศรีวิชัยสู่อารยธรรมร่วมสมัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน.

พระนคร ปัญญาวชิโร (ปรังฤทธิ์) และคณะ. (2560). การธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยวน เมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

พระนคร ปัญญาวชิโร, ดร. และคณะ. (2566). ธรรมาสน์ ตู้คัมภีร์ธรรม สัตตภัณฑ์ : การธำรงอัตลักษณ์ คุณค่าและการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยชุมชนในล้านนา. รายงานการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวิทย์ ใจจุ้ม. “สัตตภัณฑ์” (สตฺตภณฺฑ). (4 ,ธันวาคม, 2556). https://www.facebook.com/photo/?fbid =5671505329609027&set=a.164853946940887.

อุดม รุ่งเรืองศรี และคณะ. (2534). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
เผยแพร่แล้ว
2024-08-17