วิถีประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย

  • พระมหาสงกรานต์ จิรวฑฺฒโน (จันทาพูน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธนวิชญ์ กิจเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: วิถีประเพณีสรงน้ำ, พระธาตุดอยตุง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง ìวิถีประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงรายî มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นมาของพระธาตุดอยตุง และวิถีประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงรายพบว่า พระธาตุเจดีย์องค์แรก เป็นสถานที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์ที่สอง เป็นสถานที่บรรจุพระอรหันตธาตุ พระสาวกของพระพุทธเจ้า ดังนั้น พระธาตุดอยตุงจึงเป็นลักษณะเจดีย์คู่มาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๔ ชาวจังหวัดเชียงรายมีการส่งเสริมวิถีประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยตุงขึ้นทุกปี ผ่านการส่งเสริม ๗ กิจกรรมได้แก่ ๑.การเดินจาริกแสวงบุญตามรอยครูบาศรีวิชัย ๒.พิธีตักน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ ๓.พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ๔.พิธีทำบุญตักบาตร ๕.พิธีสืบชาตาหลวงล้านนา ๖.พิธีถวายเครื่องสักการะ ๗.พิธีสรงน้ำและห่มผ้าพระธาตุดอยตุง ดังนั้น ถือเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมวิถีประเพณีอันสำคัญของจังหวัดเชียงรายให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและคงอยู่คู่กับจังหวัดเชียงรายต่อไป

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร (สำนักศิลปากรที่ 18 เชียงใหม่). (2552). พระธาตุเจ้าดอยตุง : บันทึกว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ถาวรการพิมพ์ จำกัด.

พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค). (2562). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพมหานคร: รำไพเพรส จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2552). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.

สมศักดิ์ คณาคำ. (2562). ตำนานพระธาตุดอยตุง 2,000 ปี. โรงพิมพ์ล้อล้านนา.

สราวุธ คำฟูบุตร. สืบสานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.77kaoded.com/news/big/1381407 [1 กรกฎาคม 2567]
เผยแพร่แล้ว
2024-08-17