การส่งเสริมการจัดการชุมชนต้นแบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ตามหลักสัปปุริสธรรม : กรณีศึกษาชุมชนลำไยแปลงใหญ่ ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

  • วันทนีย์ ใจแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • นพดณ ปัญญาวีรทัต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • อภิรมย์ สีดาคำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: การจัดการชุมชน, ต้นแบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน, สัปปุริสธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการชุมชนต้นแบบของชุมชนลำไยแปลงใหญ่ ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของเกษตรกรในชุมชนตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการชุมชนต้นแบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนตามหลักสัปปุริสธรรม การวิจัยนี้ใช้วิธีการผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 ท่าน และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 363 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการชุมชนตามหลักสัปปุริสธรรมในชุมชนลำไยแปลงใหญ่ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากสูงสุด ได้แก่ การรู้ชุมชน (ปริสัญญุตา) การรู้บุคคล (ปุคคลัญญุตา) การรู้ตน (อัตตัญญุตา) การรู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา) การรู้จักผล (อัตถัญญุตา) การรู้กาลเวลา (กาลัญญุตา) และการรู้ประมาณ (มัตตัญญุตา) 2) การบริหารจัดการชุมชนตามหลักสัปปุริสธรรมส่งผลต่อการจัดการชุมชนต้นแบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนในชุมชนลำไยแปลงใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการส่งเสริมการจัดการชุมชนต้นแบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ได้แก่ การประชุมวางแผนชุมชนโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม การประเมินเหตุการณ์ในอนาคตและเตรียมรับมือ การวิเคราะห์ผลที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเทคนิค และการฝึกอบรมเกษตรกรในเทคนิคใหม่ ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญ

บรรณานุกรม

จันทนา อินทฉิม. (2561). การจัดการชุมชนเข็มแข็ง ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตําบลบางปลา อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ชนะพงษ์ กล้ากสิกิจ. (2562). การประยุกต์หลักสัปปุริสธรรม 7 กับการบริหารงานสมัยใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2(1), 98-109.

พัลลภ หารุคำจา. (2562). รูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนผาปัง จังหวัดลำปาง. วารสารพุทธศิลปกรรม. 2(1), 1-13.

พีระพงษ์ กลิ่นละออ. (2558). รูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารแนวพุทธ เพื่อการพัฒนาเกษตรกรสู่เศรษฐกิจ พอเพียง. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 10(2), 22-39.

ทวีศักดิ์ สุขกมล. (2560). การใช้หลักสัปปุริธรรมในการบริหารงานเชิงบูรณาการของผู้บริหารเทศบาล ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสนามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เทศบาลตำบลหนองช้างคืน จังหวัดลำพูน. (2561). แผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565. ลำพูน: เทศบาล ตำบลหนองช้างคืน จังหวัดลำพูน.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนองค์การมหาชน. (2564). แผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น พ.ศ. 2564. ลำพูน: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

สุกัญญา ดวงอุปมา. 2557. การศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์จากปลาแบบมี ส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อเป็นเศรษฐกิจชุมชนต้นแบบ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและ คุณภาพชีวิต, 8(3), 649-659.

สำนักงานจังหวัดลำพูน. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2561-2565. ลำพูน: สำนักงานจังหวัดลำพูน.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2558). การจัดการชุมชน : มโนทัศน์และทฤษฎีที่จำเป็นต้องทบทวน. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(2), 11-22.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-06