ดาบล้านนา : ภูมิปัญญาด้านศาสตร์และศิลป์

  • พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์ (โสภาราช) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูสมุห์วัลลภ ฐิตสํวโร (ทาอินทร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระมหาจักรพันธ์ สุรเตโช (สุระโพธา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระอำนาจ ถิรวิริโย (ขันตา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • กฤษฎายุทธ เต๋จ๊ะดี
คำสำคัญ: Gharavasa-dhamma, Buddhist methods

บทคัดย่อ

ภูมิปัญญาล้านนาเป็นศาสตร์หนึ่งที่สะท้อนวิถีชีวิตและคุณค่าของความเป็นล้านนา อันเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดเองโดยธรรมชาติ สัมผัสผ่านทางตาเห็นรูป เกิดเป็นความรู้สึกว่าชอบ ยินดี เพลิดเพลิน อิ่มใจ ในวัตถุสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้ภูมิปัญญาล้านนาจึงเป็นแขนงที่ศึกษาแสวงหาความรู้และวิเคราะห์เกี่ยวกับภูมิปัญญาคืออะไร ใช้ทฤษฎีตัดสินคุณค่าของภูมิปัญญาอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลเพื่อวิเคราะห์มิติภูมิปัญญาในดาบล้านนา มุมมองในศาสตร์ที่ว่าด้วยศาสตร์และศิลป์รู้สึกที่น่าพึงพอใจ ความรู้สึกชอบ มีเสน่ห์ ลุ่มหลงในมนต์ที่มีอัตลักษณ์ที่ปรากฏในดาบล้านนา ซึ่งดาบล้านนาสามารถพบได้ในจังหวัดภาคเหนือของไทย คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา ต่อมาภายหลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ตรงกับรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงกลายเป็นจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยตอนบน มีมรดกตกทอดและอัตลักษณ์นั่นคือ ดาบล้านนา ประกอบด้วย 2 มิติ คือ ìรูปธรรมî ความงามในองค์ประกอบของดาบล้านนามีรูปร่าง รูปทรง สัดส่วนสมบูรณ์ ที่สามารถจับต้องได้ และ ìนามธรรมî เป็นความงาม ความเชื่อ เชิงจิตวิญญาณที่ไม่สามารถจับต้องได้ ต้องใช้ความรู้สึกทางอารมณ์ในการเข้าถึงคุณค่าในดาบล้านนาโดยอาศัยจิตวิญญานของคนล้านนาสมัยโบราณสะท้อนออกให้เกิดทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ให้มิติของความงามทั้งวัตถุและความรู้สึก

บรรณานุกรม

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2555). ภูมิปัญญาล้านนา หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศน์ศิลป์ ศิลปวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชยุตภัฏ คำมูล. (2553). วรรณกรรมประกอบพิธีกรรมล้านนา ลักษณะเด่น ภูมิปัญญาและคุณค่า. เชียงใหม่ : ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนภัทร รุ่งธนาภิรมย์. (2560). ทฤษฎีความงาม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แอทโฟร์พริ้นท์.

พระศุภวัฒน์ สุขวฑฺฒโน (เกตุกระทึก), พระมหาชัชวาลย์ ฐิตคุโณ (จารย์คุณ), จักรี ศรีจารุเมธีญาณ, มิติสุนทรียศาสตร์ในดาบล้านนา (2565). วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

พ่วง มีนอก. (2530). ภูมิปัญญาล้านนา. กรุงเทพมหานคร : กิ่งจันทร์การพิมพ์.

ฟอง เกิดแก้ว. (2527). กระบี่กระบอง. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์.

ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2561). ภูมิปัญญาล้านนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลัดดาวัลย์ แซ่เซียว. (2545). 200 ปี พม่าในล้านนา. กรุงเทพมหานคร : โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค.

วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. (2547). ดาบล้านนา. กรุงเทพมหานคร : ปิรามิด.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2561). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อันธิฌา แสงชัย. (2557). มิติภูมิปัญญาล้านนาในจริยศาสตร์ขงจื่อ. หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาปรัชญา ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-06