การพัฒนาการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน

  • สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: การพัฒนา, การส่งเสริม, พฤติกรรมการเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 6 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน 2. ศึกษาการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน และ 3. เพื่อพัฒนาการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการเลือกตั้งมุ่งเน้นในการกระทำผิดกฎหมายในการลงคะแนนเลือกตั้ง เนื่องจากระบบอุปถัมภ์และระบบทุนนิยมมีอิทธิพลในการตัดสินใจของ 2. การส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน องค์ประกอบในด้านอุดมการณ์ และการกำหนดเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งมีความสำคัญ การเลือกตั้งจะอยู่ภายใต้โครงข่ายการพึ่งพาทางสังคมของการเลือกตั้งในพื้นที่ 3. การพัฒนาการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้ประชาชนสนใจและตระหนักถึงความสำคัญ ขยายระยะเวลาในการเลือกตั้ง ด้านการลงคะแนนเลือกตั้ง กระบวนการเลือกตั้งมีความโปร่งใส ยุติธรรม ด้านการตัดสินใจเลือกตั้ง กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ตัดสินใจเลือกตั้งได้ง่าย อำนวยความสะดวกการตัดสินใจ พัฒนาโครงข่ายการทางสังคม

บรรณานุกรม

โกวิทย์ พวงงาม. (2557). องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมา-ธรรม.

เชาวณะ ไตรมาส. (2555). การเลือกตั้งแบบใหม่ : ทำไมคนไทยต้องไปเลือกตั้ง. กรุงเทพมหานคร: สุขุม และบุตร.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2560). การประเมินผลการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

ปิยพร ถิตย์ประเสริฐ. (2558). การศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : กรณีศึกษา เฉพาะชุมชนในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ . รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัชรา ไชยสาร. (2554). ระบบการเลือกตั้งกับการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

วรเชษฐ์ ไชยวงค์. (2559) .พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในระดับท้องถิ่น: กรณีศึกษา การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโดยจริงขององค์การบริหารส่วนตำบล ทุ่งรวงทองอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมบัติ จันวงศ์. (2560). เลือกตั้ง วิกฤต ปัญหา และทางออก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คบเพลิง.

สุวิทย์ จันเซ่ง. (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน องค์การบริหารส่วนตำบล จระเข้เผือก อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-06