ประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ๒) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับรูปแบบกระบวนการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ และ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการวางแผนการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.42 ระดับประสิทธิภาพการบริการ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.56 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับรูปแบบกระบวนการบริหารจัดการ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 หมายความว่า หลักสัปปุริสธรรมมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการบริหารจัดการ และมีค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.802 โดยแสดงว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันในระดับสูงมาก
บรรณานุกรม
พระครูสุตกิจสารวิมล (สุดใจ โกติรัตน์) และ สงวน หล้าโพนทัน. (2562). “บริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมเชิงพุทธบูรณาการ”, Journal of Buddhist Education and Research, 5(2).
พระครูปลัดนิคม นาควโร (รอดอุไร). (2561). “การพัฒนารูปแบบและมาตรฐานในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนาสังคม: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาปรีชา เขมนนฺโท, “การประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. (2561). ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการการจัดการเชิงพุทธ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ดาบตำรวจภาคิน สีสุธรรม. (2560). “การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรีตามหลักพุทธบูรณาการ”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการโสภณ ปิยธมฺโม (กิ่งแก้ว). (2560). “ประสิทธิผลการบริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิรินภา ทาระนัด. (2561). “การศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่”. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชนะพงษ์ กล้ากสิกิจ. (2562). “การประยุกต์หลักสัปปุริสธรรม 7 กับการบริหารงานสมัยใหม่”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2(1).
พระปลัดวัชระ วชิรญาโณ และ สิรภพ สวนดง. (2563). “หลักสัปปุริสธรรมเพื่อการบริหารจัดการชุมชน”, การประชุมวิชาการนานาชาติ.
ธีระศักดิ์ บึงมุม, พรพิพัฒน์. (2560). “การพัฒนาบุคลากรตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4”. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 6(1).
พระคำแสน ปภสฺสโร, ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2561). “สัปปุริสธรรมทฤษฎีการบริหารตนเอง”, วารศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 7(2).
กัญกัวฬาภรณ กลิ่นนิ่มนวล. (2554). “ประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก ตามหลักอิทธิบาท 4”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จุฬาลักษม์ วงศ์สงวน. (2557). “การศึกษาสภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่ของสำนักปฏิบัติธรรมที่สนับสนุน ต่อกิจกรรมการปฏิบัติธรรม กรณีศึกษาสำนักปฏิบัติธรรมภายใน วัดปทุมวนารามและวัดมหาธาตยุวราชรังสฤษฎ์”. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมภายในมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระพิพัฒน์ ทับงาม และคณะ. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการของสำานักปฏิบัติธรรม ประจำาจังหวัดอ่างทอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางปัญญา, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1)
อารีย์ เกาะเต้น และ กฤษฎา นันเพ็ชร. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ปฏิบัติธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(4)