การปรับตัวของบุคลากรทางการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม ในสังคมร่วมสมัย

  • พระทรงพล คุณพโล (ทิพย์คำ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระปลัดสถิตย์ โพธิญาโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เยื้อง ปั้นเหน่งเพ็ชร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • อำนาจ ขัดวิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ทินกร จูเรือน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: บุคลากรทางการศึกษา, พหุวัฒนธรรม, สังคมร่วมสมัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมเชิงพหุวัฒนธรรมในปัจจุบันที่มีกระแสเกี่ยวกับการเปิดกว้างมากขึ้นทางความคิด การแสดงออก ที่นำไปสู่การลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีปรากฎในระบบการศึกษาของสังคมไทย จึงส่งผลให้บุคลากรทางการศึกษาต้องปรับความคิด ภาครัฐได้ออกกรอบนโยบายที่รองรับกับสังคมเชิงพหุวัฒนธรรมอย่างเหมาะสมไม่ให้ล้าสมัย และไม่สามารถหลีกพ้นการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย ดังนั้น กระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่สามารถวางนโยบายที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการยอมรับในวงกว้างของประเด็นทางพหุวัฒนธรรมในระบบการศึกษาของสังคมไทย ร่วมกับการสนับสนุนการจัดทำหลักสูตรความรู้เรื่องพหุวัฒนธรรมแก่บุคลากรทางการศึกษาอย่างลึกซึ้ง ซึ่งสามารถทำให้การวางนโยบายทางด้านความต่างทางวัฒนธรรมได้ประสบความสำเร็จอย่างตรงประเด็น ท้ายที่สุดนำไปสู่การลดลงของปัญหาในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่แฝงอยู่ในการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมของสังคมร่วมสมัย

บรรณานุกรม

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่. (2565). บรรยายสรุปจังหวัด. เชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่.

ศูนย์บริหารข้อมูลตลาดแรงงานภาคเหนือ. (2564). การทำงานของแรงงานต่างด้าว. วารสารสถานการณ์ตลาดแรงงานภาคเหนือ. 1(2), 14.

ธมลวรรณ ธีระบัญชร. (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนร่วมสมัย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. 6(1), 187 – 186.

สวงษ์ ไชยยา, สมาน ฟูแสง, สมเกตุ อุทธโยธา, และ สำเนา หมื่นแจ่ม. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย. 8(2), 37-50.

ฐานเศรษฐกิจ. (2567). สวนดุสิตโพลเปิดผลสำรวจ “จุดเด่น-จุดด้อย” ของครูไทยปี 2566. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.thansettakij.com/news/585855

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2566) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย (พ.ศ. 2566 – 2570). สืบค้น 25 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.onlb.go.th/about/featured-articles/5139-a5139
เผยแพร่แล้ว
2024-09-06