สภาพปัญหาการทุจริต และประพฤติมิชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

  • สมยศ ปัญญามาก มจรฦวข.พะเยา
  • พระเมธีวชิรคุณ . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระมหากิตติพงษ์ กิตติญาโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • นิยม ยากรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการทุจริต และประพฤติมิชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ในพื้นที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการนำเสนอภาพกิจกรรมผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการทุจริต และประพฤติมิชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เกิดจาก 1) การขาดความโปร่งใสและการใช้งบประมาณอย่างไม่เหมาะสม 2) การใช้ตำแหน่งหรืออำนาจของตนเพื่อเอื้อต่อการทำผิดกฎหมาย 3) ขาดความรู้ความเข้าใจและความรับผิดชอบทางคุณธรรมและจริยธรรม 4) การใช้ช่องว่างของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ช่องว่างเหล่านี้สร้างโอกาสให้เกิดการกระทำผิดได้ 5) การใช้อำนาจ บารมี และอิทธิพลในท้องถิ่นซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีหลายแง่มุม

บรรณานุกรม

วิยะธิดา อภัยภักดิ์, (2561). แนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นในหน่วยงานภาครัฐ”, วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 13(1), 49-62.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2554). ดัชนีคอร์รัปชันของไทย : การสร้างและการตรวจสอบความเชื่อถือได้. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช..
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข และนุชจรี ศิลมงคล. (2560). ความเป็นปกติของการคอร์รัปชั่นกับการเข้าสู่ตำแหน่งของพนักงานส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(47), 19-41.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). การป้องกันการทุจริต. นนทบุรี : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด สาขา 4.
Clark, L. and Michael, (1983). S. Corruption: Causes, Consequence and Control. London: Frances Pinter.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-07