หลักสูตรการศึกษาที่นำไปสู่กระบวนการสร้างพลโลกผ่านวิถีชุมชน

  • ไพศาล ศรีวิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ศรีสกุล ชัยเวียง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พลสรรค์ สิริเดชนนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สุชาวดี สุพรรณสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • อาเดช อุปนันท์ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
คำสำคัญ: หลักสูตรการศึกษา, พลโลก, วิถีชุมชน

บทคัดย่อ

ผวนทางด้านสังคมและมีอิทธิพลตามบริบทที่เปลี่ยนไปของพลวัตสังคมโลก ส่งผลทำให้ระบบการศึกษาจึงถูกกำหนดกระบวนการสร้างพลเมืองสู่ความเป็นพลโลกโดยจำเป็นต้องอิงตามหลักการแนวนโยบายของภาครัฐผ่านระบบหลักสูตรการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับต่าง ๆ ของการเรียนรู้พลเมืองในสังคม อีกทั้งการสะท้อนจากคุณภาพทางการศึกษาของพลเมืองในสังคมที่ได้รับการเรียนรู้จากระบบการศึกษาที่มีการปรับปรุงมาหลายยุคสมัย แม้ปัจจุบันหลักสูตรทางการศึกษายังมีการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตามกรอบระยะเวลาทางการศึกษา แต่ผลลัพธ์ของพลเมืองที่ตามมากลับไม่ได้แปรผันตามกระบวนการที่ระบบการศึกษากำหนดไว้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การทบทวนกระบวนการสร้างพลเมืองสู่ความเป็นพลโลกอาจต้องมีการปรับปรุงและส่งเสริมซึ่งต้องได้รับความร่วมมืออย่างแท้จริงและตรงประเด็นที่จะมุ่งแก้ไขในส่วนที่เป็นอุปสรรค โดยสามารถเริ่มจากหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานที่ใกล้ตัวพลเมืองที่สุดผ่านวิถีชุมชน เพื่อให้พลเมืองตระหนักถึงความเหมาะสมทางสังคมของตนเองที่มีความต่างกันไปในแต่ละชุมชน รวมทั้งไม่สามารถนำกระบวนสร้างพลเมืองจากบริบทสังคมหนึ่งยกมาใช้ได้ทั้งหมดของอีกสังคมหนึ่ง หลักสูตรที่มีการจัดผ่านวิถีชุมชนจึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้หลักสูตรทางการศึกษานำไปสู่การเกิดกระบวนการสร้างพลโลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024

โกษม โกยทอง. (2564). อ่านหนังสือเรียนสมัยคณะราษฎร (พ.ศ. 2475 – 2500) : สิ่งที่คณะราษฎรอยากบอกประชาชน. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.the101.world/coursebook-2475/

วิชา ขันติบุญญานุรักษ์ และ ชนิดา มิตรานันท์. (2566). ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม : ปัญหาและการช่วยเหลือ. วารสารคุรุศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. 5 (1), 89.

ธัญญาพร ก่องขันธ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการส่งเสริมความสามารถการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสําหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารราชภัฎยะลา. 18(1), 134.

มนันยา สายชู. (2563). การวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). รายงานการวิจัยประเทศไทยในอนาคต Future Thailand มิติที่3 การศึกษาไทย Future Thailand: Education. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สุนทรี นิกรปกรณ์. (2558). คุณค่าและจุดมุ่งหมายในการสอนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.ngobiz.org/home/2015/12/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). สรุปสาระสำคัญแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ ชาติ พ.ศ. 2566 - 2580 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) (หน้า 18). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

PPTV ออนไลน์. (2566). การสอบ “PISA” คืออะไร ประเมินอะไร ทำไมถึงสำคัญ. สืบค้น 23 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.pptvhd36.com/news
เผยแพร่แล้ว
2024-09-07