มรดกทางสถาปัตยกรรมวิหารล้านนาในวัดพระธาตุลำปางหลวง: เอกลักษณ์แห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น

  • อำนาจ ขัดวิชัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ปฏิเวธ เสาว์คง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • รุ่งทิพย์ กล้าหาญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • กิตติ์ ขวัญนาค มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • จันทรัสม์ ตาปูลิง วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
คำสำคัญ: มรดกทางสถาปัตยกรรมวิหารล้านนา, วัดพระธาตุลำปางหลวง, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งเน้นการศึกษา ìมรดกทางสถาปัตยกรรมวิหารล้านนาในวัดพระธาตุลำปางหลวงî ที่สะท้อนเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของช่างล้านนา วิหารล้านนาในวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของพุทธสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานความงดงามและความศรัทธาเข้าไว้ด้วยกัน ตัววิหารถูกออกแบบให้เป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการบำเพ็ญสมณธรรมของพระสงฆ์ ด้วยการใช้แสงธรรมชาติและการจัดวางพื้นที่ที่เป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังสะท้อนสุนทรียภาพทางทัศนศิลป์และสัปปายะสถาน ซึ่งเป็นจุดเด่นของสถาปัตยกรรมล้านนา

บทความยังอธิบายถึงความสำคัญของวิหารล้านนาในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของวัด ซึ่งได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่องตลอดประวัติศาสตร์ ทำให้วิหารนี้ยังคงมีความสมบูรณ์ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการคิดและการสร้างสรรค์ของช่างล้านนาในแต่ละยุคสมัย ซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อการออกแบบและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในปัจจุบัน

บรรณานุกรม

เจษฎา สุภาศรี. (2556), หอธรรมศิลป์ล้านนา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นคร สำเภาทิพย์. (2540). บทนำเมืองโบราณ. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

ทวี เขื่อนแก้ว. (2531). สวดมนต์ฉบับภาคเหนือ. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาสน์.

ปฐม พัวพันธ์สกุล. (2539). “วิหารบีบ ‘วิหารหักจ๊อก’,” บทความประกอบสัมมนานานาชาติไทยศึกษา ครั้งที่ 3.

พรรณนิภา ปิณฑวณิช. (2549). การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรม หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย. ลำปาง: วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง.

วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. (2540). วิหารไม่มีป๋างเอกในลำปาง. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

ศักดิ์ รัตนชัย.( 2518). นครลำปางจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี. ลำปาง: อนุสาร อ.ส.ท..

สามารถ สิริเวชพันธ์. (ม.ป.ป). วิหารโถง ซุ้มโขง สกุลช่างลำปาง. เชียงใหม่: หน่วยพิมพ์เอกสารทางวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุเมธ ชุมสาย. (2525). ลักษณะไทย 1. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนพานิช.

เสนอ นิลเดช. (2539). ศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนา. กรุงเทพ: เมืองโบราณ.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2539), ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ช้างเผือก.

สุรพล ดำริห์กุล. (2540). ลายคำประดับตกแต่งวิหารล้านนา ช่วงก่อน พ.ศ. 2300. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

อนุวิทย์ เจริญศุภกุล. (2526). คติจักรวาลพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์ที่มีอิทธิพลต่อแบบเมืองและสถาปัตยกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-07