แนวทางการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

  • พระกัมพล อิ่นแก้ว Mahachulalongkornrajavidyalaya University,Chiang Mai Campus
  • พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ มหาวิยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูสิริปริยัตยานุสาสก์ . มหาวิยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: แนวทาง, การอนุรักษ์, คัมภีร์ใบลาน, อำเภอแม่วาง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของคัมภีร์ใบลานในพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาบริบทและสภาพปัญหาการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 3) นำเสนอแนวทางการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในพื้นที่ดังกล่าว การวิจัยนี้ใช้วิธีผสานทั้งการศึกษาประวัติศาสตร์และการสำรวจภาคสนาม

ผลการวิจัยพบว่า 1) คัมภีร์ใบลานมีความสำคัญในพระพุทธศาสนา โดยเริ่มมีการจารึกคำสอนเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสังคายนาครั้งที่ 5 ที่ศรีลังกาในปี พ.ศ. 433 เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการท่องจำ 2) การอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในอำเภอแม่วางประสบปัญหาจากทั้งสาเหตุภายใน เช่น การเสื่อมสภาพของวัสดุ และสาเหตุภายนอก เช่น มลพิษ อุณหภูมิ และการขาดการเรียนการสอนอักษรล้านนา 3) แนวทางการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในวัดที่สำรวจมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจและสรรหาข้อมูล เตรียมการอนุรักษ์โดยสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติการอนุรักษ์ด้วยการทำความสะอาดและจัดหมวดหมู่คัมภีร์ และสร้างความยั่งยืนด้วยการสร้างแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการอนุรักษ์ในพื้นที่ สรุปได้ว่าการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานจำเป็นต้องมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจในชุมชนเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป

บรรณานุกรม

ชูศักดิ์ ทิพย์เกสร, (2551). พระพุทธศาสนาในศรีลังกา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เชน ปริ้นติ้ง.

ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล และคณะ. (2561).การพัฒนารูปแบบการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย. โรงพิมพ์อินฟอร์เมชั่น,

พระดิเรก วชิรญาโณ อินจันทร์. (2545). คู่มือการสำรวจคัมภีร์ใบลาน. เชียงใหม่ : กลุ่มใบลาน
วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม.

พระชยานันทมุนี, (2560).การสืบค้นการจัดระบบอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดและถ่ายทอดภูมิ
ปัญญาล้านนาเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของจังหวัดน่าน.รายงานวิจัย,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาฉัตรเทพ พุทฺธชาโต. (2563). รูปแบบการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดและชุมชนใน
ประเทศไทย ด้วยกระบวนการทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี,วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโรและคณะ,(2558). การจัดการความรู้ทางวัฒนธรรมในประเพณีตาก
ธรรมของวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่.รายงานการวิจัย. สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ. (2560). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การสืบค้นและอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดในจังหวัดพะเยาและการสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (2556).ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน. กรุงเทพฯ:สำนักหอสมุดแห่งชาติ,
สำนักหอสมุดแห่งชาติ.กรมศิลปากรณ์ กระทรวงวัฒนธรรม.(2553).คู่มือความรู้ด้านการจัดการคลังเอกสารจดหมายเหตุ.

ดิเรก อินจันทร์ และคณะ,(2560). การจัดทำฐานข้อมูลคัมภีร์ใบลานและศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนจากคัมภีร์ใบลาน วัดน้ำจำ ตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. งานวิจัยภายใต้การสนับสนุนทุนโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

พระชยานันทมุนี,(2560).การสืบค้นการจัดระบบอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดและถ่ายทอดภูมิปัญญาล้านนาเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของจังหวัดน่าน.รายงานวิจัย,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันทนา กิติศรีวรพันธุ์. (2547). การบำรุงรักษาหนังสือใบลานและสมุดไทย. ชลบุรี: สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา.

สินีนาฏ สมบูรณ์อเนก.(2555). การอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน. เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-05