วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่นระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ตามหลักไตรสิกขา

  • ทองหล่อ พรมสาส์น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

บทคัดย่อ

งานวิจัย เรื่อง วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่น ระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ตามหลักไตรสิกขา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบริบทปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่น ระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่  2. วิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่น ระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ 3. เสนอแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่น ตามหลักไตรสิกขา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Reserch)   เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Document) และจากการสัมภาษณ์ ทำให้ได้วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่น ระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล คือ กฎ ระเบียบ สมาธิ คือ การตั้งใจมั่น รู้จักหน้าที่ เป้าหมายของตนเอง  ปัญญา คือ รู้ทั่ว รู้รอบ ตระหนักรู้เหตุและผล ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเอง ครอบครัวและสถาบัน

บรรณานุกรม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน หลักการแนวคิดและทิศทางในการดำเนินงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

รุจิราพร หงส์ทอง. (2550). “การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อ การเฝ้าระวังและเตือนเหตุการณ์ ทะเลาะวิวาทของนักเรียนระดับ อาชีวศึกษา เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิญญา ดิสสะมาน. “แนวนโยบายการแก้ไข พันธนาการแห่งความขัดแย้งและความรุนแรงของนักศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอาชีวะ” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร. 17(1), 150-161.

แนวคิดการบริหารการศึกษาตามหลักไตรสิกขากับแนวคิดตามทฤษฎีเชิงระบบ เป็นความ สอดคล้องกันที่ลงตัว. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://oknation.nationtv.tv/blog/ tongtip/2011/07/19/entry-1 [6 กันยายน 2563].

สมพร ปินทะยา, พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ และเทพประวิณ จันทร์แรง. (2566). รูปแบบการมีส่วนร่วมของพุทธบริษัท ในการส่งเสริมสถานะและบทบาทของภิษุณีล้านนา. วารสารวิจยวิชาการ. 6(5).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaiguidance.net [10 เมษายน 2567].

สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. (2563). คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความ สงบ แห่งชาติ. ที่ 30/2559 เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน และนักศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th. [16 กรกฎาคม 2563].
เผยแพร่แล้ว
2024-09-06