การจัดการความรู้ในองค์กรตามหลักพุทธรรม

  • อ้อมตะวัน สารพันธ์
  • พระปลัดสถิตย์ โพธิญาโณ วิทยาลัยสงฆ์เชียงใหม่
  • ศรีสกุล ชัยเวียง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: การจัดการ, ความรู้ในองค์กร, หลักพุทธรรม

บทคัดย่อ

การจัดการความรู้ในองค์กรตามหลักพุทธรรม มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการความรู้ ด้วยìความรู้ î คือ ข้อเท็จจริง ข้อมูล และทักษะ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า ประสบการณ์  รวมไปถึงถ่ายทอด โดยการจัดการความรู้ ผ่านกระบวนการ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณ และความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ ทั้งนี้สามารถจัดเก็บให้เป็นระบบพร้อมที่จะนำมาใช้งานเพื่อพัฒนาองค์การได้ตลอดเวลาผ่านการผสมผสานการทำงานระหว่างองค์ประกอบ คือ คน (Man) กระบวนการจัดการความรู้ (Process) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันมุ่งที่ความสามารถของคนในองค์การ มีความคล่องตัวตามสภาวการณ์ การวิจัยใหม่ เพื่อค้นพบสิ่งใหม่ แล้วนำผลการวิจัยนั้นไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นเครื่องมือที่ดี เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของความรู้ในองค์การ ผ่านกระบวนการในการจัดการความรู้ มี 5 ขั้น คือ การได้มาซึ่งความรู้ การจัดเก็บความรู้ จัดระบบข้อมูล การแบ่งปันความรู้ และการใช้ความรู้ โดยใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ หลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ และปัญญา

บรรณานุกรม

กิดานันท์ มลิทอง. (2545). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม แนวคิด และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2547). การจัดการความรู้ฉบับมือใหม่หัดขับ. กรุงเทพมหานคร: ใยไหม.

พรรณี สวนเพลง. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสาหรับการจัดการความรู้.กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2556). ปรัชญาการศึกษาของไทย ภาคพุทธธรรม: แกนนำการศึกษา (ภาคต้นของหนังสือ ปรัชญาการศึกษาของไทย. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.

พระมหาจรูญอภิธมฺมจิตฺโตและคณะ. (2562). การประชุมวิชาการระดับชาติมจร. ครั้งที่ 3 นวัตกรรมทางการปกครองและการบริหารในยุคไทยแลนด์ 4.0. เรียกใช้เมื่อ 2 พ ฤ ษ ภ า ค ม 2566 จากhttp://econ.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2020/05/Article_Personal.pdf

พระพนมภรณ์ ฐานิสสโร นายชาตรี เพ็งทำ และพระมหาวัฒนา สุรจิตฺโต. (2563). การจัดการความรู้: กระบวนการพัฒนาคนและการพัฒนางาน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์จํากัด.

วิจารณ์ พานิช. (2547). การจัดการความรู้คืออะไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2563 แหล่งที่มาhttp://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn- panich/ 65-0001- intro-to-km.html

สุภาคย์อินทองคง. (2550). การใช้หลักพุทธธรรมนําการวิจัยและพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาพองค์รวม. สงขลา: ศูนย์เรียนรู้ชุมชนภาคใต้ (ศรช.).

อำนาจ บัวศิริ. (2561). กระบวนการสร้างภาวะผู้นำด้วยหลักไตรสิกขา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5(3). 26-27.

Franklin, B. (2005). Knowledge management synergy. Retrieved April 13, 2018, from http://www.providersedge.com/kma.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-06