ภาวะผู้นำพุทธบูรณาการ : การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

  • พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ประเสริฐ บุปผาสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • นพดณ ปัญญาวีรทัต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำ, พุทธบูรณาการ, การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง ìภาวะผู้นำพุทธบูรณาการกับการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนî มีวัตถุประสงค์ในการเขียน คือ การนำหลักพุทธธรรมในทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการทั่วไป ชี้ให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่ก่อให้เกิดความสมดุล เนื่องจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้น มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องคุณธรรม ความดีงาม และความสุข เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อกัน ซึ่งพระพุทธศาสนาถือว่าสังคมเป็นสื่อกลางที่จะช่วยให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันและเข้าถึงประโยชน์สุขได้มากที่สุด นอกจากนั้นการพัฒนาสังคมที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนได้นั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้บุคคลได้ยึดหลักแนวคิดการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบูรณาการประยุกต์ใช้กับการพัฒนาตน เพื่อให้ได้มีทัศนะที่ดี มีเหตุมีผล รู้จักบาปบุญคุณโทษ เกิดการยับยั้งชั่งใจ รู้สึกผิดชอบชั่วดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดความยั่งยืนในสังคมสืบไป

บรรณานุกรม

แก้ว ชิดตะขบ. (2554). หลักสัปปุริสธรรม 7. นิตยสารธรรมลีลา สำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ.

ทองหล่อ เดชไทย. (2544). ภาวะผู้นำเพื่อการบริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพหานคร : คณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2545). การสร้างธรรมาภิบาล (good governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

พยอม วงศ์สารศรี. (2552). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พระจันทะมูน นารทปัญฺโญ (แสงสุริจันทร์). (2552). ศึกษาพุทธวิธีในการวางแผนการบริหารองค์กร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยุร ธรรมจิโต). พุทธวิธีบริหาร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). ภาวะผู้นำ : ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนา ประเทศ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

พระมหาอุดร สุทฺธิญาโณ (เกตุทอง). (2554). “ศึกษาเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนากับ ภาวะผู้นำตามแนวคิดของ สตีเฟ่น อร์.โควีย์. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์กำรสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Gerald R. Ledlow, M. Nicholas Coppola. (2010). Leadership for Health Professionals. Burlington: Jones & Bartlett Publishers.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-07