พระแผงไม้เมืองเชียงใหม่: รูปแบบ จารึก และคติความเชื่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ จารึก และคติความเชื่อของพระแผงไม้ที่พบในเมืองเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบพระแผงไม้ที่พบจำนวน 43 แผง จำแนกได้ 6 รูปแบบ ได้แก่ ซุ้มทรงกรอบซุ้ม ซุ้มทรงปราสาท ซุ้มทรงเรือนแก้ว ซุ้มทรงวิมาน ซุ้มทรงบรรพ์แถลง และซุ้มทรงเบ็ดเตล็ด ในส่วนของเทคนิคการประดับตกแต่งพบทั้งการเขียนลายคำ ลายรดน้ำ การปิดทองลายฉลุ การปั้นรักสมุกประดับกระจกจืน ทาชาด และปิดทองทึบหรือทาสีทองทึบ ทั้งนี้จำนวนพระพิมพ์มีตั้งแต่ 1-104 องค์ ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปมารวิชัยในซุ้ม 2) จารึกบนพระแผงไม้พบจำนวน 13 แผง จาก 43 แผง โดยจารึกที่เก่าที่สุด คือ พ.ศ. 2334 ใหม่ที่สุด คือ พ.ศ. 2564 นอกจากในจารึกจะระบุปี พ.ศ. ที่สร้างแล้ว ยังระบุรายชื่อบุคคลที่สร้าง ชื่อวัดที่ผู้สร้างได้ถวายพระแผงไม้ไว้ และคำปรารถนาของผู้สร้าง 3) คติความเชื่อที่ปรากฏในงานพระแผงไม้สะท้อนเรื่องพระพุทธเจ้า โดยจำนวนพระพิมพ์บนพระแผงไม้ยังมีนัยสัมพันธ์กับคติการสร้างพระคู่อายุเพื่อการสืบชะตา นอกจากนี้ยังพบคติความเชื่อเรื่องการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา 5,000 ปี การบูชาพระพุทธศาสนาของคนและเทวดา พระศรีอาริยเมตไตรย นิพพาน และการอุทิศบุญกุศลที่สร้างให้กับบรรพชน
บรรณานุกรม
ลำปาง”. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม แหล่งที่มา: https://www.77kaoded.com.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมคิด จิระทัศนกุล. (2546). คติ สัญลักษณ์ และความหมายของซุ้มประตู หน้าต่างไทย, กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สมคิด จิระทัศนกุล. (2559). อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย เล่ม 3, กรุงเทพมหานคร: บริษัท อี.ที. พับลิชชิ่ง.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. (2539). ปฐมสมโพธิกถา. กรงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
สมหมาย เปรมจิตต์ และคณะ (ปริวรรต). (2536). ตำนานเชียงใหม่ปางเดิม. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.