บทบาทหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีบทบาทและหน้าที่ส่งเสริมสุขภาวะด้านกาย ได้แก่ การจัดตั้งตู้ยาประจำหมู่บ้าน ธรรมะเพื่อสุขภาพ ชมรมออกกำลังกาย เป็นต้น, ด้านจิตใจ ได้แก่ การบรรยายธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา การบรรยายธรรมผ่านสื่อวิทยุ, ด้านสังคม ได้แก่ ส่งเสริมทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง, และด้านปัญญา ได้แก่ การให้ความรู้ การสอนหนังสือ การจัดตั้งห้องสมุดประชาชน เป็นต้น 2) หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ได้พัฒนาส่งเสริมสุขภาวะเป็นแนวทางในการดำเนินการสุขภาวะที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ หรือปัญญาเชื่อมโยงกัน เป็นองค์รวม ซึ่งได้แบ่งเป็น 4 หมวด ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาวะทางกาย ได้จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาวะทางด้านจิตใจ มีกิจกรรม ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรมของกลุ่มเยาวชน ทําให้เยาวชนในเขตตําบลหนองตอง มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสํานึกที่ดี, การส่งเสริมสุขภาวะทางด้านสังคม ได้จัดกิจกรรม โครงการส่งเสริมสร้างอาชีพในการทำตุงขาย สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาวะทางด้านปัญญา ได้จัดกิจกรรม โครงการผู้สูงอายุเข้าวัด ปฎิบัติธรรมในวันธรรมเสวนะ 3) รูปแบบการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 รูปแบบการศึกษาและสำรวจข้อมูล เกี่ยวกับบทบาทการดำเนินงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลหนองตอง นตอนที่ 2 รูปแบบการตัดสินใจ โดยการจัดเวทีเสมนากลุ่ม เพื่อค้นหารูปแบบการพัฒนา ขั้นตอนที 3 รูปแบบการพัฒนา โดยหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มอาชีพ อสม. และองค์กรอื่น ก่อให้เกิดการร่วมกันวางแผน และดำเนินโครงการกิจกรรมมารองรับการดำเนินงานของการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง ทั้งหมด 4 โครงการ คือ โครงการอบรมคุณธรรมเจริยธรรมของเยาวชน โครงการส่งเสริมรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ โครงการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ โครงการเข้าวัดปฎิบัติธรรมของผู้สูงอายุ
บรรณานุกรม
สมเกรียติ โล่เพชรัตน์. (2549. ศิลปะสุโขทัย, กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง จำกัด มหาชน.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2554). พุทธปฎิมางานช่างพลังแห่งศรัทธา, กรุงเทพมหานคร: มติชน.
สุรัสวดี อ๋องสกุล. (2557). กษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่. เชียงใหม่:วนิดาการพิมพ์.
ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. (2542). “ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าศิลปกรรมกับการสร้างทัศนคติต่อตนเองและความผูกพันกับชุมชน”. คุรุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. พัฒนศึกษา: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พระครูอนุรักษ์บุรานันท์ (บุญชื่น ฐิตธมฺโม). (2554). “ศึกษากระบวนการอนุรักษ์พุทธประติมากรรมหินทราย : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.