หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

  • ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: หลักพุทธธรรม, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, คนพิการ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง “หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” มีวัตถุประสงค์ในการเขียนเกี่ยวกับหลักพระพุทธธรรมมีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และมุมมองคนพิการที่มีต่อสังคมและตนเอง ตลอดจนได้รับทราบสถิติของคนพิการในประเทศไทย เพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของคนพิการ ซึ่งมีแนวโน้มมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สังคมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอยู่ร่วมกัน และควรปฏิบัติต่อคนพิการอย่างเหมาะสมและเท่าเทียมกัน หลักพุทธธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นอย่างมาก ทำให้คนพิการมีสติในการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักธรรมเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ช่วยขัดเกลาจิตใจให้ประพฤติในสิ่งที่ดี ทั้งทางกายทางวาจาและทางใจและสร้างพลังใจในการดำเนินชีวิต โดยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่นำมาพัฒนาคนพิการครั้งนี้ประกอบด้วย ภาวนา 4 โดยนำมาบูรณาการร่วมกับหลักธรรมที่เกี่ยวข้องคือ สังคหวัตถุ 4 อริยสัจ 4 และ พรหมวิหาร 4 เป็นต้น

บรรณานุกรม

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ: สถานการณ์คนพิการ(รายไตรมาส 31มีนาคม 2563) http://www.nonthaburi.m- society.go.th/?p=532
จิตติมา เจือไทย. (2551) การสร้างอัตตลักษณ์แห่งตัวตนของคนพิการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.อ้างถึงใน Depoy, E. & Gilson, S. F. (2004). Rethinking disability: Principle for professional and social change. Canada:Thomson Learning Academic Resource Cente
ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์,ปรีชา อุปโยคิน, เทอดชัย ชีวะเกตุ(2555 ) คนพิการไทย:กระบวนการตีตราและการ ปรับตัว Thai Rehabil Med 2012; 22(2): 51-57
พระกัมปนาท กิตฺติวิสุทฺโธ (กันทาเดช) (2563) พุทธวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการทางการเคลื่อนไหว
พระครูอาทร ปริยัตยานุกิจ (สุจิตฺโต/เพียรสองชั้น). “การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด” วิทยานิพนธ์. หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2555.
พระปลัดธัญวัฒน์ อโสโก (รักษ์เพ็ชร) (2563) การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของชุมชนบ้านบ่อเกตุ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาวารสารมหาจุฬานาครทรรศน ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2563
พระมหาภัคศิษฐ์ มหาวิรีโย และ พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ,( 2560) การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักภาวนา 4 Vol. 4 No.1 (2017): January-June 2017
วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์, มณเฑียร บุญตัน และอัครพรรณ ขวัญชื่น. (2556). การแก้ไขกฎหมายที่กีดกัน คนพิการในการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม: ศึกษากรณีกฎหมายและกฎระเบียบที่จำกัดสิทธิคน พิการในการประกอบอาชีพ” (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา
Goffman, E. (1963). Stigma: Notes on the management of spoiled identity, New Jersey: Prentice Hall, Englewood Cliffs.
National Office of Buddhism. 4 noble truth.[online], source:http://www1.onab.go.th/ index.php?option [15 May 2010]
Phra Brahmagunabhorn P.A. Payutto. Young Buddhist Association of Thailand: Brahmavihara4.[online], source: https://web.ybatnet.org/th/blog/. [7 /02/ 2560].
Siriwan Piriyakunnatron and faculty. The application of the doctrine of Buddhism experience. Songklanagarind Journal of Nursing Vol. 34 No.2 May - August 2014.
เผยแพร่แล้ว
2022-02-11