แนวทางการพัฒนาเยาวชนด้านคุณธรรมจริยาธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ในการเขียนเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเยาวชนด้านคุณธรรมและจริยธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนวิถีพุทธถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ที่จะช่วยผลักดันให้เยาวชนสามารถพัฒนาตนตามศักยภาพด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพราะว่าโรงเรียนวิถีพุทธได้นำหลักธรรมมาประยุกต์กับการจัดระบบการเรียนการสอนในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตามระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่กำหนดให้นักเรียนจะต้องเป็นคนดี คนเก่ง มีสุขอย่างแท้จริง ตรงกับหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่มีกรอบในการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นแบบฝึกหัดเพื่ออบรมพัฒนากาย ความประพฤติ จิตใจ และปัญญา ด้วยแนวทางการบูรณาการไตรสิกขาเข้าร่วมกับกลุ่มสาระและกิจกรรมต่าง ๆ ในหลักสูตร กล่าวคือในโรงเรียนต้องฝึกอบรมผู้เรียนให้มีวิถีแบบชาวพุทธทั้งใน และนอกสถานศึกษา ผลที่ตามมา ผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน เป็นไปพร้อมกัน ได้แก่ การพัฒนาทางกาย (กายภาวนา) การพัฒนาด้านสังคม (ศีลภาวนา) การพัฒนาทางจิตใจ (จิตตภาวนา) และการพัฒนาทางปัญญา (ปัญญาภาวนา) จะเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข
บรรณานุกรม
โรงเรียนวิถีพุทธ. (2563). โรงเรียนวิถีพุทธ พุทธธรรมประยุกต์เพื่อการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 5มกราคม 2563 จาก www.vitheebuddha.com /main.php?url=about&id
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ วัดวังตะวังตก.
ผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ. (9 มกราคม 2563). เรื่องการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. (พระมหาวิชาญ สุวิชาโน (บัวบาน), ผู้สัมภาษณ์)
ผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธทั่วไป. (9 มกราคม 2563). เรื่องการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. (พระมหาวิชาญ สุวิชาโน (บัวบาน), ผู้สัมภาษณ์)
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). สู่การศึกษาแนวทางพุทธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
พระมหาโยธิน โยธิโก และคณะ. (2563). การสร้างความสมดุลและการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติเชิงพุทธ ของเครือข่ายป่าชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ วัดวังตะวังตก, 5(12), 30-43.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม136 ตอนที่ 57 ก หน้า 49 (1 พฤษภาคม 2562).
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). การแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม2563 จาก http://www.royin.go.th/knowledges
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). NY: Harper & Collins.262 | Vol.8 No.1 (January 2021) ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราค
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for ResearchActivities. Journal Education and Psychology Measurement, 3(30), 607-610.