ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระศาสดาที่ให้ความสำคัญต่อความเสมอภาคของคนในสังคม ให้ความสำคัญต่อการกระทำมากว่าชาติกำเนิด มุ่งสั่งสอนให้หลุดพ้นโดยมองว่าทุกคนสามารถหลุดพ้นได้
ผู้เขียนจึงเสนอศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยชาติกำเนิด ไม่ว่าจะเกิดในชนชั้นใดก็สามารถประพฤติดีได้ 2) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการเข้าถึงธรรม โดยที่ทุกเพศ ทุกชนชั้นสามารถเข้าถึงธรรมได้ และ 3) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการมีความสัมพันธ์ทางสังคม ตามหลักทิศ 6 เพื่อให้ทุกคนเคารพให้เกียรติกัน และรู้หน้าที่ของตน อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
บรรณานุกรม
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอน 40 ก. 6 เมษายน.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน. (2546). เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สร้างสื่อ.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน. (2564). “หลักปารีส”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม. แหล่งที่มา: http://www.nhrc.or.th/Human-Rights-Knowledge/International-Human-Rights-Affairs/Paris-Principles.aspx.
สุรชัย ศรีสารคาม. (2564). “บทความเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม. แหล่งที่มา: https://www.constitutional court.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?nid=1394.
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย. (ม.ป.ป.). สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย.