การสร้างสรรค์พลังเรียนรู้ต่อการออกแบบกิจกรรมเสริมพลังเยาวชนยุค 4.0
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังเรียนรู้ของเยาวชนยุค 4.0 และ 2) เพื่อออกแบบกิจกรรมเสริมสร้างพลังแห่งการเรียนรู้ของเยาวชนยุค 4.0. การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research). ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เยาวชนที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา เป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง.
ผลการวิจัย พบว่า การเสริมสร้างพลังเรียนรู้ของเยาวชนยุค 4.0 มีการจัดการศึกษาแบบบูรณาการตามเนื้อหาสาระรายวิชาในหลักสูตร, การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทำให้ผู้เรียนสามารถอ่านออกเขียนได้, ตีความ, เขียนอธิบาย และคิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง. การพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม, ทักษะด้านสารสนเทศ, สื่อ และเทคโนโลยี, ทักษะด้านชีวิตและการทำงาน โดยเป็นสิ่งที่ต้องถูกปลูกฝังและบ่มเพาะจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้ผู้เรียนมีทักษะที่จะนำมาใช้ในการเรียนรู้, การแก้ปัญหา, การทำงาน และการดำรงชีวิตในอนาคต. การสร้างให้เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก สอดรับกับการพัฒนาการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ (2559) คือ กิจกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ การสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ และสร้างนวัตกรรมใหม่. ส่วนการออกแบบกิจกรรมเสริมสร้างพลังแห่งการเรียนรู้ของเยาวชนยุค 4.0 เริ่มต้นกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนทำสมาธิและเจริญปัญญา. หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการตามแผนกิจกรรม ดังนี้ ช่วงที่ 1 ประกอบด้วย 1) ครูชวนนักเรียนขบคิดพินิจทักษะ, 2) ครูชวนนักเรียนชมและคุยระหว่างเพื่อนกับเพื่อน, 3) ครูชวนนักเรียนให้ใส่ใจและชวนเข้าใจ, 4) ครูชวนนักเรียนให้คิดเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิต 5) ครูชวนนักเรียนฟังเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต, 6) ครูชวนนักเรียนคิด, ฟัง, คุย และสรุป. ส่วนช่วงที่ 2 Growth Mindset (GM) & Fixed Mindset (FM) มีขั้นตอน ดังนี้ 1) การประเมินตนเองอย่างพิจารณา, 2) การทบทวนความจำ GM & FM, 3) การจำแนก Mindset, 4) การปรับ FM ให้เป็น GM, 5) การบันทึกความพยายาม และ 6) การสร้าง Growth Mindset.
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงาน. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
ชนันภรณ์ อารีกุล. (2560). การพัฒนากรอบความคิดเติบโตเพื่อเสริมสร้างศักยภาพคนไทย4.0
Growth Mindset Development to Enhance the Potential of Thai
People4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุมครั้งที่ 12
ประจำปี 2560. ชวลิต โพธิ์นคร. (2560). ห้องสมุดดิจิทัลกับการก้าวสู่ยุค Thailand4.0. การประชุมใหญ่สามัญ
ประจำปี 2559 และการประชุมวิชาการวันที่ 23 มีนาคม 2560.
ณัฐพร เห็นเจริญเลิศ และคณะ. (2559). ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้ : การศึกษาระบบ 4.0.
กรุงเทพมหานคร: ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทย4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการ
พัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ประชุมวายุภักษ์โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและ
คอนเวนชั่นเซนเตอร์แจ้งวัฒนะ.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). คิดผลิตภาพ. กรุงเทพมหานคร. : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์4.0 ด้วยการ
เรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2560.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2556). โลกเปลี่ยนไทยปรับ. กรุงเทพมหานคร : กรุงเทพธุรกิจ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. เปลี่ยนโรงเรียนธรรมดาเป็น
โรงเรียนปฏิรูป โดยใช้ผลการวิจัย อัจฉริยะ หรือ พรสวรรค์ไม่สำคัญเท่า Growth
Mindset. ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ สำนักพัฒนานวัตกรรม
การจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. ม.ป.พ.
Carol S. Dweck. (2006). Growth Mindset Changing the way you think fulfil your
potential. Published by Robinson. London.