การวิเคราะห์ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

  • พระทวีศักดิ์ สุเมโธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์ . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • พระศักดิธัช สํวโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
คำสำคัญ: : ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (2) เพื่อวิเคราะห์ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) และเก็บรวมรวมข้องมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 21 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า

1) ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประเพณีที่แสดงถึง “วัฒนธรรม” มาเนิ่นนานนับเนื่องกว่าสองร้อยปี จัดมาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อเป็นการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครองคนในชุมชนให้อยู่ดีเป็นสุขจัดขึ้นบริเวณที่โล่งกลางหมู่บ้าน หรือที่อันสมควร เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญใหญ่ในหมู่บ้าน เป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชุมนุมอย่างดียิ่ง สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่าง ๆ ได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะ อาหารการกิน เป็นต้น เพื่อปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความตระหนัก มีความตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเผยแพร่และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่าง ๆ ของคนในชุมชนเพื่อเป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษของเรา และเป็นการทำพิธีเพื่อขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีในชุมชนให้ออกไป เพื่อจะได้เป็นขวัญกำลังใจของคนในชุมชน มีวาระจัดกันแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาแห่งปี โดยมีนัย “ผูกโยง” สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกจากวิถีชีวิตคนชนบท

2) ผลการวิเคราะห์ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ (1) ด้านความเชื่อ พบว่า การทำบุญประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าวเป็นผลมาจากความเชื่อ 4 อย่าง คือความเชื่อว่าเป็นการทำบุญส่งเคราะห์ ความเชื่อว่าเป็นขวัญกำลังใจแก่ชาวบ้าน ความเชื่อว่าเป็นการทำบุญอุทิศ และความเชื่อว่าเป็นการทำบุญขอบคุณแม่โพสพ และเป็นวิถีชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา จึงถือเป็นประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความนับถือศรัทธา (2) ด้านหลักธรรม ในประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าวมีหลักธรรมที่ปรากฏที่เห็นได้เด่นชัดอยู่ในประเพณีคือ กตัญญูกตเวที กรรม ศรัทธา บุญกิริยาวัตถุ 3 กัลยาณมิตรธรรม หลักธรรมทั้งหมดนี้ผสมกลมกลืนอยู่กับประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าวและวิถีชีวิตของชาวบ้านตำบลคุ้งตะเภามาโดยตลอด (3) ด้านอิทธิพลและคุณค่า อิทธิพลในด้านต่าง ๆ คือ ด้านครอบครัว วิถีชีวิต สังคม และพระพุทธศาสนา อันเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงในการสร้างความรักความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ของพุทธศาสนิกชนให้รวมเป็นหนึ่งเดียว การสอนให้เราอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ไม่มีการแบ่งปันกันในสังคมนั้น โดยเริ่มจากครอบครัวที่เป็นสุข ทำให้เกิดวิถีชีวิตของคนในสังคมที่ดีงาม โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นฐานในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้ประเพณีบุญบ้านบุญขวัญข้าวเป็นประเพณีที่ดีงามจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ควรสืบสานและอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบต่อไป

บรรณานุกรม

เทวประภาส มากคล้าย. (2553). คุ้งตะเภา จากอดีตสู่ปัจจุบัน : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหามนตรี ฉนฺทสีโล. (2562). วิเคราะห์หลักธรรมในประเพณีการทำบุญอุทิศของชาวพุทธในเขตเทศบาลตำบลหาดคำ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชา
พระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอรุณ อรุณธมฺโม (สุภะโกศล). (2538). “อิทธิพลของอรรถกถาธรรมบทต่อพิธีกรรมและประเพณี ของชาวอีสาน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. (2563). “ตุ๊กตาเสียกบาล”. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม. แหล่งที่มา: www.sujitwongthes.com.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เผยแพร่แล้ว
2022-02-11