รูปแบบการจัดการศึกษาสงเคราะห์ระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูงในภาคเหนือตอนบน

  • ประเสริฐ ปอนถิ่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูสาทรธรรมสิทธิ์ (สิทธิพันธ์ วันสูง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • โสภา ปอนถิ่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์โครงการวิจัย 1) เพื่อศึกษารูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูง 2) เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการการสงเคราะห์ทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูงที่เหมาะสม 3) เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูงต่อไป โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก กับกลุ่มตัวอย่างของกลุ่มนิสิตแกนนำชาวพุทธ กลุ่มผู้ปกครองของนิสิต พระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา กลุ่มผู้นำในหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน / สอ.บต. รวมทั้งสิ้น 238 รูป/คน  ผลการวิจัยมี พบว่า 1. ผลการศึกษารูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูง พบว่า มีการบริหารจัดการโดยสาขาวิชาในการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยขึ้น และมีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ได้คัดสรรนิสิตเข้ามาเรียน โดยจัดการเรียนการสอนโดยฝึกนิสิตให้มีจิตสาธารณะ โดยทางสาขาวิชาได้ร่วมกับหน่วยงานทางสังคมสงเคราะห์ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการฝึกงานด้านสังคมสงเคราะห์ ให้เป็นไปตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ 2. ผลการศึกษาการบริหารจัดการการสงเคราะห์ทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูงที่เหมาะสม พบว่า ด้านทุนการศึกษาได้รับสนับสนุนจากพระพรหมบัณฑิต โดยทางโครงการสนับสนุนความเป็นอยู่ในการมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยตลอดหลักสูตร ในช่วงการเรียนการสอนมีการฝึกอบรมนิสิตด้านความประพฤติตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ 3. ผลการศึกษาเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูง พบว่า 1) ด้านการบริหารจัดการ ควรจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาเพื่อนิสิตแกนนำ 2) ด้านหลักสูตร วิชาพื้นฐานควรเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ ภาษาไทย ส่วนวิชาแกนสังคมสงเคราะห์ ในทุกวิชาควรมีการเสริมเนื้อหาด้านจิตอาสาให้มากขึ้น โดยเฉพาะวิชาฝึกงานสังคมสงเคราะห์ควรตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนให้นิสิตมีงบประมาณในการทำโครงการร่วมกับชุมชนให้มากขึ้น

บรรณานุกรม

ติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2546). การศึกษาความมั่นคงของครอบครัว : พรมแดนแห่งความรู้เพื่อความมั่นคงของมนุษย์. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร, 11(1)

นิตยา กระภูฤทธิ์. (2547). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปทีป เมธาคุณวุฒิ. (2544). หลักสูตรอุดมศึกษา:การประเมินและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: นิชิน แอดเวอร์ไทชิ่งกรุ๊ฟ.

ปานเพชร ชินินทร และคณะ. (2552). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการพัฒนาแนวทางการจัดการสอนที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work-integrated learning). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). การเผยแผ่เชิงรุก. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2537). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2549). การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เผยแพร่แล้ว
2022-02-11