การวิเคราะห์เหตุแห่งความเสื่อมของพระสัทธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท

  • พระพิลม จารุกิตฺติโก (แจ้งดี) วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช พิษณุโลก
คำสำคัญ: พระสัทธรรม, ความเสื่อม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ทัศนะเรื่องการเสื่อมของพระสัทธรรมของนักวิชาการ 2) ความเสื่อมของพระสัทธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) วิธีป้องกันกันการเสื่อมของพระสัทธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผลจากการศึกษาพบว่า พระสัทธรรมในพระพุทธศาสนาเถรนั้น ล้วนตกในกฎไตรลักษณ์ทั้งสิ้น มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พระสัทธรรมเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์แสดงไว้ นับตั้งแต่ราตรีที่ตถาคตตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตได้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

เหตุแห่งความเสื่อมของพระสัทธรรมนั้น เกิดจากการที่พวกภิกษุมีการเล่าเรียนสูตร อันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันผิด เป็นคนว่ายาก ไม่อดทน ภิกษุที่เป็นเถระไม่เป็นแบบอย่างที่ดี มีการสะสมบริขาร ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา ไม่ปรารถนาความเพียร เป็นผู้ที่ไม่ประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ เราต้องรู้จักวิธีป้องกันยับยั้งบรรเทาไม่ให้พระสัทธรรมนั้นสูญหายไปได้ ด้วยการป้องกันด้านปริยัติ เนื้อหาสาระที่นำมาเล่าเรียนต้องเป็นเนื้อหาของหลักธรรมที่เป็นพุทธพจน์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ศึกษาสิ่งที่ถูกบัญญัติเพิ่มเติมโดยนักกวีหรือผู้รู้ทั้งหลาย ซึ่งกวีเหล่านั้นจะนำมาซึ่งความผิดเพี้ยนในพระสัทธรรมในภายหลังได้ ผู้เผยแผ่คำสอนนั้นต้องขยันถ่ายทอดบอกสอนแก่ชนรุ่นหลังต่อไป เพื่อที่จะได้ไม่ขาดผู้เป็นมูลรากจึงจะทำให้พระสัทธรรมนั้นดำรงอยู่ตลอดไป

บรรณานุกรม

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาลลักษมณ). (2521). สังคีติยวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด คิวพร.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พุทธทาส อินฺทปญฺโญ. (2558). ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : ธรรมทานมูลนิธิ การพิมพ์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2544). พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). พระไตรปิฎกศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยรายวันการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2552). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ). พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
เผยแพร่แล้ว
2022-02-11