วารสารธรรมสาส์น https://firstojs.com/index.php/sana <p>เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ในมิติทางด้านพระพุทธศาสนากับปรัชญา พุทธศาสนากับคัมภีร์ใบลาน พระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรมท้องถิ่น บทความตีพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประเภทของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านพระพุทธศาสนากับปรัชญา พุทธศาสนากับคัมภีร์ใบลาน พระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรมท้องถิ่น 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่ 3) บทความวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> th-TH วารสารธรรมสาส์น การพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 https://firstojs.com/index.php/sana/article/view/1319 <p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1.เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 และ 2.เพื่อประยุกต์ใช้หลักการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 เป็นวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>1. แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 พบว่า การพัฒนาจิตด้านกายภาวนาคือ การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่ประกอบไปด้วย อิริยาบถปัพพะ สัมปชัญญปัพพะ ธาตุปัพพะ มาตามลำดับ เป็นการมุ่งพิจารณาในกายของตนเองเป็นหลัก การพัฒนาจิตด้านศีลภาวนา เป็นการพัฒนาพฤติกรรมที่มุ่งถึงการฝึกอบรมกาย วาจา ให้เป็นฐานในการพัฒนาจิต การพัฒนาจิตด้านจิตภาวนา เป็นการฝึกอบรมจิต ข่มอารมณ์ความรู้สึกได้เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์และความรู้สึก สิ่งสำคัญคือมีสติที่พร้อมไปด้วยความไม่ประมาท สมาธิที่จดจ่อต่อการเกิดสภาวะของจิต ความเพียรที่จะต้องหมั่นฝึกพิจารณาเหตุผล การพัฒนาจิตด้วยปัญญาภาวนา สามารถปฏิบัติได้ด้วยการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจของตนเองให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง</li> <li>2. การพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 พบว่า การพัฒนาร่างกาย คือ การเข้าใจสภาพร่างกาย การสร้างสุขภาพที่ดีด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารอย่างเหมาะสม รักษาสุขภาพร่างกายให้ปราศจากโรคภัย และการพัฒนาจิตใจให้สัมพันธ์กับร่างกายที่จะช่วยเกิดความมั่นคงทางด้านอารมณ์ที่ส่งผลต่อร่างกาย การพัฒนาพฤติกรรม คือ การรับรู้ผลของพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดการพิจารณาเลือกปฏิบัติตน สร้างศรัทธาให้เกิดในการยึดถือหลักปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ และการปฏิบัติตาม การพัฒนาจิตใจ คือ ควบคุมสติให้เกิดความมั่นคงเพื่อการรับรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างไม่ประมาท หมั่นฝึกสมาธิให้เกิดสภาวะความเข้มแข็งทางจิตใจที่ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งต่าง ๆ และการคิดอย่างมีเหตุผลตามสภาวะความเป็นจริงที่จะช่วยให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพตามมา การพัฒนาปัญญา คือ การแลกเปลี่ยนที่เป็นกระบวนการเริ่มต้นของการเกิดปัญญาจากการฟัง การคิดพิจารณาโดยโยนิโสมนสิการ</li> </ol> พระมหาธนวุฒิ ญาณโสภโณ ##submission.copyrightStatement## 2024-06-26 2024-06-26 3 1 1 11 หลักพุทธธรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนบ้านผาช่อ จังหวัดลำปาง https://firstojs.com/index.php/sana/article/view/1318 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและบริบทชุมชนบ้านผาช่อ ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง และ 2) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนบ้านผาช่อ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>บริบทชุมชนบ้านผาช่อ ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ชุมชนนี้อยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ชุมชนบ้านผาช่อมีป่าชุมชน จำนวน 600 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน มีน้ำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ มีสัตว์ป่าต่าง ๆ อาศัยอยู่ ป่ามีความชุ่มชื้น และอุดมสมบูรณ์มาก การใช้ทรัพยากรธรรมป่าไม้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ป่าชุมชน และป่าใช้สอย มีคณะกรรมการบริหารป่าชุมชน มีหน้าที่ในการสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยของป่าอนุรักษ์ป้องกันรักษาป่าชุมชน และทำประชาคมในชุมชนในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนบ้านผาช่ออาศัยความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการป่า เช่น พิธีกรรมบวชป่า เป็นต้น</p> <p>วิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน บ้านผาช่อ จังหวัดลำปาง ได้แก่ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นมีมากมาย เพราะธรรมะ คือ ธรรมชาติ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้ล้วนแต่เป็นธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง แล้วนำมาเผยแผ่ให้ผู้อื่นได้รู้ได้เข้าใจและอยู่กับธรรมชาติเหล่านั้นอย่างมีสติ รู้คุณค่า รู้ประมาณ&nbsp; หลักสังคหวัตถุ 4 สอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันด้วยการให้วัตถุเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนซึ่งกันและกัน ความกตัญญูกตเวที ความกตัญญูต่อแหล่งน้ำ อริยสัจ 4 ใช้หลักแห่งความจริงเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ</p> <p>&nbsp;</p> พระอธิการขวัญชัย ปภากโร ##submission.copyrightStatement## 2024-06-26 2024-06-26 3 1 12 25 ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีลอยโขมดในจังหวัดลำพูน https://firstojs.com/index.php/sana/article/view/1317 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาประเพณีโขมดในจังหวัดลำพูน และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในงานประเพณีการลอยโขมดของจังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>วิเคราะห์ประวัติความเป็นมาประเพณีโขมดในจังหวัดลำพูนเป็นวันเพ็ญเดือนยี่ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของภาคกลาง ตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 โดยในพงศาวดารโยนกและจามเทวีวงศ์มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิดอหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดีนานถึง 6 ปีจึงเดินทางกลับมายัง บ้านเมืองเดิม เมื่อเวลาเวียนมาถึงวันที่จากบ้านเมืองไปจึงได้มีการนำเครื่องสักการบูชา ธูป เทียน นำปล่อยลงในน้ำเพื่อแสดงถึงความคิดถึงกันแสงไฟกระทบกับน้ำ เกิดเป็นเงาแสงเสมือนแสงพะเนียงไฟเป็นระยะดูเหมือนผีโขมดที่ออกหากินในเวลากลางคืนชาวล้านนาจึงเรียกตามตำนานโยนกและจามเทวีวงศ์ว่า “ประเพณีลอยโขมด”</li> <li>วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในงานประเพณีการลอยโขมดหลักพุทธธรรมในประเพณีลอยโขมดในจังหวัดลำพูน ที่ปรากฏได้แก่ หลักบูชาหลักศรัทธาธรรม หลักกัลยาณมิตรธรรม หลักสามัคคีธรรม หลักความกตัญญูกตเวทิตาที่มีคุณค่าและความสำคัญของต่อชุมชนวิถีชีวิตและจิตใจ หลักพุทธธรรมเหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน เพื่อความสงบสุขและรักษาประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม สนับสนุนให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นสืบไป</li> </ol> ธวัชชัย พัฒนปาลี ##submission.copyrightStatement## 2024-06-26 2024-06-26 3 1 26 36 ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมถวายสะเปาในจังหวัดลำปาง https://firstojs.com/index.php/sana/article/view/1316 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของสะเปา และ 2) ศึกษา วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมถวายสะเปา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>พิธีกรรมถวายสะเปามีความหมายและความเชื่อของชาวลำปางว่า เป็นการส่งเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ผู้ล่วงลับผ่านพิธีกรรมถวายทานให้พระสงฆ์ โดยใช้เรือสำเภาเป็นไทยทานถวาย เสมือนเป็นพาหนะเดินทางไกลในสัมปรายภพ เพื่อข้ามโอฆะวัฏฏะสงสารสู่นิพพาน</li> <li>สำหรับหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมถวายสะเปา ประกอบด้วย หลักธรรมที่ 1 คือ ความศรัทธา ซึ่งเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล 4 อย่าง คือ กัมมสัทธา วิปากสัทธา กัมมัสสกตาสัทธา ตถาคตโพธิสัทธา หลักธรรมที่ 2 หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ที่ตั้งแห่งการทำความดี 3 ประการ ประกอบด้วย ทาน การรักษาศีล และภาวนา หลักธรรมที่ 3 หลักความกตัญญู และหลักสาราณียธรรม 6 ซึ่งประกอบด้วย 1) เมตตาทางกาย (กายกรรม) 2) เมตตาทางวาจา (วจีกรรม) 3) เมตตาทางใจ (มโนกรรม) 4) ทาน (สาธารณโภคี) 5) ศีล (สีลสามัญญตา) 6) ปัญญา (ทิฎฐิสามัญญตา) ซึ่งหลักพุทธธรรมนี้ จะเสริมสร้าง รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม จริยธรรม เมตตาธรรม กรุณธรรม และสามัคคีธรรมให้บังเกิดขึ้นในคนอยู่กันในสังคมอย่างสันติสุข<a name="_Toc943434"></a><a name="_Toc945424"></a><a name="_Toc958778"></a><a name="_Toc966146"></a></li> </ol> พระครูโสภณวีรบัณฑิต ภูริวฑฺฒโน ##submission.copyrightStatement## 2024-06-26 2024-06-26 3 1 37 50 ศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของฆราวาสที่บรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา https://firstojs.com/index.php/sana/article/view/1315 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของฆราวาสที่บรรลุธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และ 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา ผลการวิจัย พบว่า การบรรลุธรรมเป็นกระบวนการเจริญปัญญาเพื่อรู้แจ้งอริยสัจ 4 และตรัสรู้ธรรม ประเภทของการบรรลุธรรม แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ในครั้งพุทธกาล มีฆราวาสที่บรรลุธรรมดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎก อาทิ พระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าพิมพิสาร อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขามหาอุบาสิกา จิตตคหบดี และอุคคตเศรษฐีฆราวาส แต่ละบุคคลมีลักษณะการบรรลุธรรมแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามบุญบารมีที่สั่งสมมาแต่อดีตชาติและปัจจุบันชาติที่บรรลุธรรมส่วนหลักธรรมที่ทำให้บรรลุธรรม ประกอบด้วยหลักอริยสัจ 4 และหลักสังโยชน์</p> <p>สำหรับวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา พบว่า สภาพแวดล้อมภายใน คือฆราวาสที่บรรลุธรรมได้ต้องไม่มีกรรมหนัก ไม่มีกิเลส ไม่มีวิบาก และต้องมีศรัทธา มีฉันทะ และมีปัญญา ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรม คือ ด้านการเมืองและกฎหมายนั้น ในสมัยพุทธกาล ไม่มีกฎหมายในการห้ามการนับถือศาสนา จึงเป็นการง่ายที่ฆราวาสจะเข้าถึงพุทธศาสนา และด้วยมีเศรษฐกิจที่ดีที่ช่วยส่งเสริมให้มีเวลาแสวงหาทางแห่งปัญญารวมถึงสังคมและวัฒนธรรม แม้จะถูกอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ครอบงำ แต่พระพุทธองค์พยายามที่จะปฏิวัติและปฏิรูปและมุ่งเน้นด้านความรู้และความประพฤติที่จะเป็นตัวกำหนดวรรณะบุคคล ไม่ใช่เพราะชาติตระกูลหรือถิ่นกำเนิด และความรู้ความประพฤติ วิถีปฏิบัติของบุคคลเท่านั้นที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรมได้</p> <p>&nbsp;</p> พระคำน้อย จนฺทสาโร ##submission.copyrightStatement## 2024-06-26 2024-06-26 3 1 51 63 ศึกษาและวิเคราะห์รุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนา https://firstojs.com/index.php/sana/article/view/1314 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษารุกขมูลิกังคธุดงควัตรในพระพุทธศาสนา และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติรุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส องค์คุณของผู้จำกัดกิเลส ธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่พระสงฆ์รูปใดจะสมัครใจปฏิบัติ ถือเป็นอุบายวิธีกำจัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษ รุกขมูลิกังคธุดงควัตรในพระพุทธศาสนาถือเป็นหลักปฏิบัติธรรมธุดงค์ ข้อ 4 ในธุดงค์ 13 การปฏิบัติรุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนานั้น นิยมเข้ากันในช่วงฤดูหนาว เพราะไม่ต้องมีความกังวลเรื่องฟ้าฝนและรูปแบบที่นิยมกันก็คือในฌาปนสถานหรือป่าช้า ที่นิยมทำในป่าช้า เพราะจะได้ปฏิบัติธุดงคกรรมข้ออื่นๆ ควบคู่ไปด้วย และเป็นการเปิดโอกาสให้ญาติโยมได้ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์อย่างอื่น เช่น การสร้างเมรุเผาศพและศาลา เป็นต้น</p> <p>สำหรับคุณค่าของรุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนา ในด้านจิตใจในฐานะเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของชีวิตตามหลักของศาสนา และเพื่อพัฒนาจิตใจของตนเองให้ดีขึ้น ทำให้จิตใจเกิดความเบิกบาน แจ่มใสขึ้น อีกทั้งขัดเกลาจิตใจให้ผ่องแผ้วและสูงส่งยิ่งขึ้น ในด้านสังคมทำให้ผู้ปฏิบัติได้รับประโยชน์ในระดับเบื้องต้น ประโยชน์ระดับกลางและประโยชน์ระดับสูงสุด และในคุณค่าด้านการพัฒนาสาธารณประโยชน์ เช่น การสร้างศาลาในป่าช้า การสร้างถนน การสร้างห้องน้ำ เชิงตะกอน และกำแพง เป็นต้น</p> <p>&nbsp;</p> ร้อยตำรวจตรีกฤชนนท์ พุทธะ ##submission.copyrightStatement## 2024-06-26 2024-06-26 3 1 64 75 วิเคราะห์ภาวะผู้นำของพระอุรุเวลกัสสปะเถระ https://firstojs.com/index.php/sana/article/view/1313 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำของพระอุรุเวลกัสสปะเถระ เป็นวิจัยเชิงเอกสาร จากการศึกษา พบว่า ผู้นำ หมายถึง หัวหน้า คือ บุคคลที่ถูกเลือกให้มาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มหรือองค์กร ภาวะผู้นำ หมายถึง พฤติกรรมของผู้นำที่จะต้องสร้างความปฏิสัมพันธ์กับบุคคล เพื่อให้บุคลากรในองค์การนั้นร่วมแนวเดินไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนผู้นำเชิงพุทธ หมายถึง มีความหมายที่คล้ายคลึงกับผู้นำตามตำราวิชาการ แต่จะประกอบด้วยคุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องประกอบ เช่น ผู้นำแบบสัปปุริสธรรม ผู้นำตามหลักพรหมวิหาร เป็นต้น พระอุรุเวลกัสสปะเถระเป็นผู้นำในการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์กร สามารถมอบหมายหน้าที่ในการปกครองบริหารจัดการบุคลากรเป็นอย่างดี เป็นผู้นำในการใช้อำนาจในการปกครองในองค์การ เป็นผู้นำทางสังคม ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 และท่านยังเป็นผู้นำในด้านการเผยแผ่ศาสนาอย่างเข้มแข็ง</p> <p>&nbsp;</p> พระปลัดศิวนัฐ เมธีปชฺโชโต ##submission.copyrightStatement## 2024-06-26 2024-06-26 3 1 76 87 การบริหารงานบุคคลเชิงพุทธบูรณาการตามหลักอปริหานิยธรรม https://firstojs.com/index.php/sana/article/view/1312 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาหลักการบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม และ 2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธบูรณาการตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>หลักการบริหารงานบุคคล ประกอบไปด้วย หลักความเสมอภาค หลักความสามารถ หลักความมั่นคง หลักความเป็นกลางทางการเมือง หลักการพัฒนา หลักแห่งความเหมาะสม หลักความยุติธรรม หลักสวัสดิการ และหลักมนุษยสัมพันธ์และสิทธิมนุษยชน</li> <li>หลักอปริหานิยธรรม 7 ได้แก่ หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่ได้บัญญัติ เคารพนับถือผู้ใหญ่ ไม่ข่มเหงสตรี เคารพบูชาเจดียสถาน และให้การคุ้มครองผู้มีศีลธรรม</li> <li>รูปแบบการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธบูรณาการตามหลักอปริหานิยธรรม ได้แก่ การสรรหาและการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้งและการปฐมนิเทศ การพัฒนาและการธำรงรักษา การสิ้นสุดการทำงาน โดยจะต้องหมั่นประชุมกัน พร้อมกันประชุม สร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ เคารพความคิดเห็น ให้เกียรติกันและกัน เคารพกฎกติกาองค์กร และรักษาความยุติธรรม</li> </ol> <p>&nbsp;</p> พระครูสุวรรณปัญญาพิสุทธิ์ สุทฺธปญฺโ ##submission.copyrightStatement## 2024-06-26 2024-06-26 3 1 88 100