รูปแบบและวิธีการของการเข้าปริวาสกรรมในล้านนา

  • พระมหาญาณะ คล้ายสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: การเข้าปริวาสกรรม, ล้านนา, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการการเข้าปริวาสกรรมในล้านนาในด้านรูปแบบและวิธีการปฏิบัติ ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การเข้าปริวาสกรรมเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงบัญญัติ มอบให้คณะสงฆ์เป็นผู้ดูแลและจัดการกันเอง โดยพระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติระเบียบวิธีการ เรียกว่า การประพฤติวุฎฐานวิธี เป็นวิธีการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส การเข้าปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท ได้ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยมาอย่างเคร่งครัดตั้งแต่อดีต สำหรับการเข้าปริวาสกรรมในล้านนาเริ่มมีเมื่อล้านนาได้นับถือพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ในอดีตการจัดปริวาสไม่ง่าย เพราะการคมนาคมลำบาก การติดต่อสื่อสารไปต่างจังหวัดเป็นเรื่องยาก วัดที่นิยมจัดปริวาสกรรมในล้านนา คือ วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน และวัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบันการจัดปริวาสกรรมนั้นเรื่องของระเบียบวิธีการ พระวินัยบัญญัติ ยังคงปฏิบัติตามปกติเหมือนในอดีต จะแตกต่างก็เพียงสิ่งแวดล้อมที่ผู้จัดได้บูรณาการให้มีการปฏิบัติธรรมควบคู่ไป จึงมีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสปฏิบัติธรรมร่วมกัน บางวัดมีการส่งเสริมการทำบุญหาปัจจัยทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วย

บรรณานุกรม

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2552). พิธีกรรมและประเพณี ประเพณีขึ้นท้าวทั้งสี่. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวัฒนธรรม.

พระครูเวฬุวันพิทักษ์. (2547). ประวัติสี่ครูบา. เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิกส์.

พระมหาเสกสรร อุคฺคปุญฺโญ. (ม.ป.ป.). เถระประวัติพระสุพรหมยานเถร. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนนวรัฐการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารไทยพาณิชย์.

สิริวัฒน์ คําวันสา. (2541). ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก.

หนานปวงคํา ตุ้ยเขียว. (2530). มูลกัมมัฏฐานรอม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เผยแพร่แล้ว
2023-12-29