คุณค่าและหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีปอยจ่าตี่
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาคุณค่าและหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีปอยจ่าตี่ พบว่า ปอยจ่าตี่ คือ งานบูชาเจดีย์ทรายของชาวไต (ไทยใหญ่) จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ซึ่งเชื่อว่าถ้าได้ร่วมประเพณีนี้จะได้กุศลที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ยังเป็นการสะเดาะเคราะห์ ทำให้เคราะห์กรรมไม่ดีต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเราให้จางหายไป สิ่งร้ายจะกลายเป็นดี สิ่งที่ดีอยู่แล้วจะยิ่งดีขึ้นไปและถือเป็นพระเพณีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลอีก โดยชาวบ้านจะร่วมกันนำทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์ ตกแต่งประดับประดาให้เกิดความสวยงามและบูชาด้วยทราย น้ำพัด ดอกไม้ ธูปเทียน ตุงหรือธง จุดประทีปโคมไฟ ให้ความสว่างไสวเวลากลางคืน ถึงวันจัดงานมีการทำบุญอุทิศถวายแด่พระพุทธเจ้า ถวายอาหารแด่พระสงฆ์ เลี้ยงอาหารผู้มาร่วมงาน ประกอบพิธีถวายและฟังพระธรรมเทศนา เสร็จแล้วมีการจุดดอกไม้ไฟ ซึ่งมีความเชื่อว่าถ้าได้บูชาเจดีย์ทรายถวายพระพุทธเจ้าแล้ว เคราะห์กรรมในรอบปีนี้จะหมดไป และจะได้ความเป็นสิริมงคลสู่หมู่บ้าน และประกอบการเกษตรได้ผลดีในปีนั้น
บรรณานุกรม
ณัฐปรียา วิจิตรฐะพันธุ์. (2561). “ปรัชญาประเพณีของพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย”. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม. 3 (1) : 12
บุญโท ไพศาล (เมืองปอน). (2567). ปอยจ่าตี่ หรือ ประเพณีก่อเจดีย์ทราย. [ออนไลน์], แหล่งที่มา :https://www.gotoknow.org/posts/50371 [1 ก.ค. 2567].
ประชิด สกุณะพัฒน์. (2546). สาระน่ารู้เรื่องวัฒนธรรมพื้นบ้านและประเพณีไทย. กรุงเทพมหานคร: ภูมิปัญญา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระปรีชา คุตฺตจิตฺโต (แสนพรม) และคณะ. (2560). “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับประเพณีบุญข้าวของชาวพุทธในจังหวัดขอนแก่น”. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 17 (3) : 351.
ศนัฎฐ์ชล สุ่มสมบูรณ์. (2567). ปอยจ่าตี่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://calendar.m-culture.go.th/events/102325 [1 ก.ค. 2567].
สัญญา สะสอง. (2564). “อัตลักษณ์ชนชาติไทใหญ่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน”. รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.).