แนวคิดการสร้างองค์กรแห่งความสุข

  • พระเมธี ผิวขาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
คำสำคัญ: แนวคิดการสร้างองค์กร, ความสุข, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างองค์กรแห่งความสุขตามแนวทางพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า ความสุขในพระพุทธศาสนา มีความหมายสำคัญอยู่ 3 นัยด้วยกัน ได้แก่ (1) สภาวะแห่งความสุข ความสบาย (2) สภาวะที่ปราศจากความทุกข์ ไม่มีความทุกข์ ขจัดหรือทำลายความทุกข์ และ (3) สภาวะที่สามารถทนต่อความทุกข์ได้ง่าย หลักธรรมแห่งความสุข ได้แก่ หลักสาราณียธรรม 6 โดยมุ่งสู่ 1) ด้านจิตใจ 2) ด้านการจัดการ 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ 4) ด้านมีน้ำใจงาม เน้นการบริหารแบบส่วนร่วม ส่วนองค์กรแห่งความสุข คือ กระบวนการพัฒนาคนในองค์กรอย่างมีเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อให้คนมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง นำพาองค์กรไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยองค์กรแห่งความสุขมีลักษณะที่สำคัญคือ คนทำงานมีความสุข ที่ทำงานน่าอยู่ และชุมชนสมานฉันท์ ผลของการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขจะเกิดประโยชน์ทั้งต่อพนักงาน องค์กร และสังคม

บรรณานุกรม

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2555). ทิศทางเป้าหมายและยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี พ.ศ. 2555 - 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส).

พยอม วงศ์สารศรี. (2541). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). คู่มือชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี). (2553). ความทุกข์มาโปรด ความสุขโปรยปราย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ปราณ.

พุทธทาสภิกขุ. (2542). ความสุขสามระดับ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2535). ปรัชญาทั่วไป : มนุษย์ โลกและความหมายของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2545). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2552). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สุจิตรา ร่มรื่น. (2532). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์.

Diener, E. (1984). “Subjective well-being”. Psychological Bulletin. 95: 542 - 575.

Martin, S. (2000). “Positive psychology: An introduction”. Amer Psychol. 55: 5-14.

Morris, C. G. and Maisto. (2001). Understanding Psychology. 5th ed. New Jersey: Prentice Hall Inc.
เผยแพร่แล้ว
2023-12-29