ภูมิปัญญาท้องถิ่น: การอนุรักษ์ลายฉลุสังกะสีศิลปะไทใหญ่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  • พระครูอนุสารนันทสิทธิ์ อุ่นโสมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
คำสำคัญ: ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การอนุรักษ์, ลายฉลุสังกะสี, ศิลปะไทใหญ่, แม่ฮ่องสอน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการอนุรักษ์ลายฉลุสังกะสีศิลปะไทใหญ่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม วิถีทางประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อของชาวไทใหญ่ถูกหลอมรวมจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง เป็นวิถีชีวิตมีความศรัทธาเลื่อมใสต่อพุทธศาสนาผสมผสานการนับถือผีและยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด ทำให้คนในชุมชนไทใหญ่เกิดความภาคภูมิใจและตระหนักถึงการธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของตนเอง ชาวไทใหญ่นั้นก็ได้ก่อเริ่มที่จะมีประเพณีเป็นของตัวเองที่เรียกว่าประเพณีออกพรรษาตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จุดเริ่มต้นของประเพณีออกหว่าในอำเภอแม่สะเรียงดำเนินมาเมื่อไรไม่ได้ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน เพียงแต่ได้รับการสืบทอดมานานตามคำบอกเล่า การอนุรักษ์ลายฉลุสังกะสีศิลปะไทใหญ่จะดำเนินการโดยวิธีสืบทอดศิลปะการเขียนลายไตในปัจจุบัน คือ การฝึกทำงานไปพร้อมกับหัวหน้าครอบครัวช่างหรือไปสมัครเป็นลูกมือทำงานกับช่างผู้ชำนาญฝึกไปกับการเรียนรู้ศิลปะนั้น ๆ ภูมิปัญญาชาวบ้านบางคนก็สามารถพัฒนางานของตนได้ก้าวหน้ากว่าสล่าที่เคยฝึกสอนตนมาก็มีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ฝึกฝนและพรสวรรค์ของแต่ละบุคคล

บรรณานุกรม

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2550). ภูมิปัญญาพัฒนาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2549). ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน.

สุทัศน์ กันทะมา. (2542). การคงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เผยแพร่แล้ว
2023-12-29