การจัดการหนี้สินครัวเรือนตามหลักทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการหนี้สินครัวเรือนตามหลักทิฏฐิธรรมิกัตถประโยชน์ ผลการศึกษาพบว่า หนี้สิน หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่ายเพื่อให้เกิดการยอมรับสามารถต่อรองในสิทธิ์ที่จะพึงได้ทั้งสองฝ่ายโดยมองถึงผลประโยชน์กันเอง หนี้สินครัวเรือนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. หนี้สินในระบบ เป็นหนี้สินที่ลูกหนี้ทำกับสถาบันการเงินหรือธนาคารที่มีกฎหมายรับรองและควบคุมอยู่ และ 2. หนี้สินนอกระบบ เป็นหนี้สินที่เกิดจากลูกหนี้ไม่สามารถกู้ยืมกับสถาบันการเงินหรือธนาคารได้จึงไปใช้บริการหนี้สินนอกระบบ หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ หลักธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบันสามารถนำมาบริหารจัดการหนี้สินครัวเรือนได้ ประกอบด้วยหลักการ 4 ข้อ ได้แก่ 1) อุฏฐานสัมปทา มีความขยันหมั่นเพียร 2) อารักขสัมปทา รักษาโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรโดยชอบธรรม 3) กัลยาณมิตตตา การคบกัลยาณมิตร ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา และ 4) สมชีวิตา การอยู่อย่างพอเพียง รู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
บรรณานุกรม
จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2541). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยยุทธ วัชรานนท์. (2546). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์การพิมพ์.
ฐานิตา มีลา. (2556). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้นอกระบบของชาวนา ในเขตอำเภอปากท่อจังหวัดราชบุรี”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการประกอบการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นุกูล ตรีเจริญ. (2548). “การศึกษาภาระหนี้สินของนายทหารชั้นประทวนสังกัดกองบัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน”. ปัญหาพิเศษพัฒนาประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิ่น มุทุกันต์. (2542). เรือนชั้นนอก-เรือนชั้นใน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด.
พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล. (2555). การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.
พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี). (2559). เคล็ดลับหัวใจเศรษฐี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สปายะ.
เยาวเรศ ทับพันธุ์. (2549). ปัจจัยกำหนดแหล่งเงินกู้และระดับการกู้ยืมของครัวเรือนชนบท. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
วนิศา โชคปลอด. (2554). “การเป็นหนี้นอกระบบของพนักงาน : กรณีศึกษานิคมสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา จังหวัดชลบุรี”, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารงานยุติธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ. (2558). รายงานการศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุพิษญ์ชญา เหล่าธรรมทัศน์. (2551). เอกสารประกอบคำสอนวิชา บช. 201 การบัญชี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสนีย์ ปราโมช. (2539). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้.กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
โสภณ รัตนากร. (2551). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: นิติบรรณการ.
แสวง รัตนมงคลมาศ. (2537). องค์กรการนำการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.