พัฒนาการการสืบทอดคัมภีร์พระไตรปิฎกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาคัมภีร์พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการการสืบทอดคัมภีร์พระไตรปิฎกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ผลการศึกษาพบว่า พระไตรปิฎกเป็นตำราหรือคัมภีร์ที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หมายถึง คำสอนหมวดใหญ่ ๓ หมวด คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก การรวบรวมและจัดหมู่หมวดหมู่พุทธพจน์ โดยการสังคายนาครั้งแรกหลังพุทธปรินิพพานสามเดือน คำสอนดังที่สืบทอดกันมาด้วยปากเปล่าหรือมุขปาฐะ และได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรในคราวสังคายนาครั้งที่สี่ ส่วนในด้านพัฒนาการสืบทอดคัมภีร์พระไตรปิฎกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือครั้งแรก ในรัชกาลที่ห้า เพื่อฉลองงานรัชดาภิเษก พระไตรปิฎกมีจำนวนรวม ๓๙ เล่ม ส่วนพระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ คือ พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ มีจำนวน 45 0เล่ม ทำในสมัยรัชกาลที่เจ็ด และในสมัยรัชกาลที่เก้า ได้มีการจัดทำพระไตรปิฎกบรรจุไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ มีการนำพระไตรปิฎกไปใช้ในระบบออนไลน์ และคณะสงฆ์ไทยยังได้ทำการตรวจชำระและสังคายนาไว้เป็นหมวดหมู่ โดยจารึกลงบนแผ่นหินอ่อน เพื่อเป็นถาวรวัตถุอันเป็นนิมิตหมายแห่งความมั่นคงของพระพุทธศาสนาสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้
บรรณานุกรม
กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.
กรมศิลปากร. (2540). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม 4 ชินกาลมาลีปกรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2528). ปรัชญาพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2541). มหาว์โส ปฐโม ภาโค. กรุงเทพมหานคร: วิญญาณ.
ศศิธร เวียงวะลัย. (2558). “การศึกษาพระไตรปิฎกฉบับประชาชนของสุชีพ ปัญญานุภาพ ในเชิงพัฒนาการ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุเมธ เมธาวิทยากูล. (2525). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2530). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.