การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามหลักพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามหลักพระพุทธศาสนา ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องใน 3 ประการตามลำดับการศึกษา ดังนี้ 1.การพัฒนามนุษย์ ทางพระพุทธศาสนามุ่งเน้นขบวนการสร้างปัญญาและคุณธรรม ที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาล่วงพ้นสิ่งบีบคั้นขัดข้อง นำชีวิตให้เจริญงอกงามไปสู่ความเป็นอยู่อย่างดีที่สุด และเสวยผลแห่งความมีชีวิตได้โดยสมบูรณ์ 2.ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตามหลักพระพุทธศาสนาแบ่งมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) กัลยาณปุถุชน หมายถึง คนธรรมดาที่มีกัลยาณธรรม ประพฤติปฏิบัติดีงาม มีคุณธรรมสูง รู้จักใช้เหตุผลในการตัดสินใจ 2) เสขบุคคล คือ เป็นพระอนุพุทธบุคคลหรือพระอริยบุคคล ผู้ยังศึกษาไตรสิกขา ประพฤติพรหมจรรย์ ได้แก่ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และ 3) อเสขบุคคล คือ ผู้ที่ไม่ต้องศึกษาคือไม่ต้องศึกษาไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาอีกต่อไป หรือ ได้ศึกษาจบโดยได้บรรลุอรหันต์แล้วบุคคลผู้สิ้นอาสวะแล้ว 3.การพัฒนาความเป็นมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา หลักสูตรพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ คือ พระไตรปิฎก มีหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา ได้แก่ กระบวนการสอนและวิธีพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามหลักพระพุทธศาสนาอาศัยปัจจัย 4 ด้าน คือ หลักสูตรหรือหลักธรรม กระบวนการสอน คุณสมบัติผู้สอน และลักษณะของตัวมนุษย์ ต้องเหมาะสมและสอดคล้องกันจะส่งผลให้การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามหลักพระพุทธศาสนา แต่ถ้าหากมนุษย์ไม่มีการเรียนรู้หรือฝึกฝน อบรมตนอยู่ตลอดเวลา มนุษย์จะไม่มีความประเสริฐ
บรรณานุกรม
บุษยากร วัฒนบุตร. (2558). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยพุทธบูรณาการ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. สังคมศึกษาและมนุษย์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปกรณ์ ปรียากรและอุทัย เลาหวิเชียร. (2538). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา ใน การบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพานิช.
ราชบัณฑิตสถาน. (2538). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). สถานการณ์พระพุทธศาสนากระแสไสยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13.กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์สวย จํากัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระมหาพยุงศักดิ์ ธมฺมวิสุทฺธิเมธี (โสภาสาย). (2555). “การศึกษาวิเคราะห์มนุษย์ที่สมบูรณ์ตามแนวพุทธปรัชญา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสาคร สาครเมรี (สำเนียง). (2566). “ศึกษาวิเคราะห์พระเสขบุคคลในคัมภีร์พระพุทธศาสนา”, ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตโต). (2525). ปรัชญาการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2530). ทางสายกลางของการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมชาติ กิจยรรยง. (2555). “มนุษย์สมบูรณ์แบบ”. เอกสารประกอบการสอน. กรุงเทพมหานคร: สมาร์ท ไลฟ์.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการกระจายอํานาจการบริหาร และการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประไทยเทศ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). แนวทางการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
T.R. Batten. (1959). Community and Their Development. London: Oxford University Press.