การศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ : กรณีศึกษา วัดในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

  • กัมปนาท แก้วนำ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ: การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้, พระสงฆ์, ป่าสงวนแห่งชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ : กรณีศึกษา วัดในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ริม ตำบลโป่งแยง ตำบลแม่แรม ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ป่าไม้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญ หากป่าไม้ถูกทำลายหรือถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยไม่รู้คุณค่า จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง พระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับป่าไม้อย่างลึกซึ้ง การดำรงชีวิตตามวิถีแห่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพุทธศาสนานั้นได้กลายมาเป็นหลักการสำคัญในการดำเนินกิจกรรมของพระสงฆ์ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะพระสงฆ์ในสังคมไทยที่ได้นำแนวคิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ในการทำงานร่วมกับชุมชน โดยพระสงฆ์สามารถอาศัยหลักพุทธธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ บูรณาการร่วมกับชุมชนและการให้ความมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการช่วยเหลือ และร่วมกันในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ ของอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างมาก การใช้องค์ความรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

บรรณานุกรม

พระครูใบฎีกาถาวร สุรปญฺโญ (เสนสอน). (2554). “การศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้: ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทของพระนิภากรโสภณ (ไกร ฐานิสฺสโร) วัดหนองกลับ อําเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากัมปนาท กมฺมสุทฺโธ (แสงจันทร์) และคณะ. (2562). “ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของป่าตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (5) : 2332-2333.

จำนงค์ กันทมาดา. (2557). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ของตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิวัติ เรืองพานิช. (2559). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประโชค ชัยสุวรรณ์ และคณะ. (2561). “วัดป่ากับการรักษาสิ่งแวดล้อม”. อินทนิลทักษิณสาร. 13 (2) : 165-175.

ศิริพร ชูประสูตร. (2559). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กรณีศึกษา: เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว จังหวัดภูเก็ต”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศุภวิชญ์ แสนคำมูล. (2565). “การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมคิด ปัญญาดี. (2556). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอนุรักษ์ป่าไม้และการมีส่วนร่วมของชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่”. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เผยแพร่แล้ว
2023-06-30