ประเพณียี่เป็งในล้านนา

  • พระครูสถิตธรรมาภินันท์ บุญยะ สำนักงานเจ้าคณะอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ: ลอยกระทง, ประเพณี, ล้านนา, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณียี่เป็งในล้านนา ผลการศึกษาพบว่า ประเพณียี่เป็ง ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของภาคกลาง คือประเพณีลอยกระทง ในพงศาวดารโยนกและจามเทวีวงศ์ มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิดอหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดีนานถึง 6 ปี เมื่อเดินทางกลับมาแค้วนหริภุญไชยได้ ได้แสดงความรำลึกถึงกันโดยการนำเครื่องสักการบูชา ธูป เทียนนำปล่อยลงในน้ำ เมื่อแสงไฟกระทบกับน้ำ เกิดเป็นเงาแสงเสมือนแสงพะเนียงไฟเป็นระยะดูเหมือนผีโขมด ที่ออกหากินในเวลากลางคืน ชาวล้านนาจึงเรียกตามตำนานโยนกและจามเทวีวงศ์ว่า “ประเพณีลอยโขมด” รูปแบบประเพณียี่เป็งในล้านนา มีการทำบุญตักบาตรอุทิศแด่บุพการี การปล่อยโคมลอยเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีและพลังความสามัคคีของคนในชุมชน การฟังเทศน์มหาชาติ แสดงถึงการรู้จักฟังสิ่งที่เป็นมงคลต่อชีวิตและการได้พบกัลยาณมิตรที่ดี การจุดประทีปโคมไฟ และการฟังธรรมอานิสงส์ประทีป แสดงถึงการบูชาสิ่งที่ควรบูชาตามความเชื่อและความศรัทธา

บรรณานุกรม

กิตติ ธนิกกุล. (2539). ประเพณี พิธีมงคลและวันสำคัญของไทย. กรุงเทพมหานคร: ปีรามิดการพิมพ์.

ทองทวี ยศพิมสาร. (2556). ฮีตคนเมืองฉบับสัปป๊ะเมืองล้านนา. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์.

มณี พยอมยงค์. (2548). ประเพณีสิบสองเดือน ล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การ.

รัตนปัญญาเถระ. (2499). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามมิตร.

ศรีเลา เกษพรหม. (2542). ล่องสะเพา. ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 11. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

อรุโณทัย วรรณถาวร. (2558). ประเพณียี่เป็ง: พิธีกรรม ความหมายที่หายไป. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). อานิสงส์ประทีส/ประทีป. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
เผยแพร่แล้ว
2023-06-30