ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ในล้านนา
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ในล้านนา พบว่า ชาวล้านนามีความเชื่อเกี่ยวกับโหราศาสตร์มาอย่างยาวนาน ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนา โหราสาสตร์ในล้านนามีความเกี่ยวโยงกับความเชื่อเรื่องผีสาง สิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ อิทธิพลของต้นไม้ใหญ่ ป่าเขา แม้กระทั่งเครื่องใช้ในครัวเรือนก็สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการพยากรณ์ได้ คนที่ทำหน้าที่พยากรณ์ในล้านนาเรียกว่า “หมอเมื่อ” ทำหน้าที่ในการสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และทายผลพยากรณ์ การใช้ศาสตร์ของการพยากรณ์ในล้านนานั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เช่น การสร้างบ้านใหม่ การแต่งงาน การออกเดินทางไปค้าขาย หรือแม้กระทั้งถามหาสิ่งของที่หายหรือถามหาคนหาย เป็นต้น แม้ในปัจจุบัน ล้านนาจะรับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาหลักแล้ว แต่ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ก็ยังปรากฏอยู่เหมือนเดิมและสามารถผสมผสานเข้ากับพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
บรรณานุกรม
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). “แนวคิดมานุษยวิทยากับการศึกษาความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสังคมไทย”. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 25 (47) : 176-179.
ประมวน วรรณโชติผาเวช. (2551). “การประเมินความแม่นยำของโหราศาสตร์ไทยในการพยากรณ์ลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมในการทำงาน”. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระนนทนันท์ มูลยศ, วิโรจน์ อินทนนท์ และ ปิยะมาศ ใจใฝ่. (2564). “แนวคิดเชิงปรัชญาในเทียนบูชาของชาวล้านนา”. วารสารปณิธาน. 17 (1) : 200–204.
พระพิษณุพล สุวณฺณรูโป (รูปทอง). (2562). “ความเชื่อเรื่องยันต์ในล้านนาจากมุมมองพระพุทธศาสนา”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (4) : 2003.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ. (2562). “เมื่อชาง : เซียมซีฉบับใบลานล้านนา”. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 10 (1) : 254 – 271.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. (2557). ฮอมผญา 30 ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่. เชียงใหม่: บริษัท ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด.
มานพ นักการเรียน. (2554). พระพุทธศาสนากับความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถิต ภาคมฤค และคณะ. (2560). “คุณค่าทางวัฒนธรรมของโหราศาสตร์ชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร”. วารสารรมยสาร. 15 (2) : 67.
สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์, พระมหาสุพัตร์ วชิราวุโธ และ ปาณิสรา เทพรักษ์. (2565). “สัญญะยันต์เทียนในวิถีชุมชนล้านนา”. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 11 (1) : 234.
วิโรจน์ อินทนนท์. (2554). ความคิดล้านนา. เชียงใหม่: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.