คติความเชื่อการสร้างพระเจ้าทันใจของชาวพุทธในล้านนา

  • พระอานนท์ ปัญญายอง วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ: พระพุทธรูป, พระเจ้าทันใจ, ล้านนา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการสร้างพระเจ้าทันใจของชาวพุทธในล้านนา และ 2. เพื่อวิเคราะห์คติความเชื่อการสร้างพระเจ้าทันใจของชาวพุทธในล้านนา เป็นงานวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ในสมัยพระนางจามเทวีนำพระพุทธศาสนามาวางรากฐานบนดินแดนล้านนาที่หริภุญชัยเป็นแห่งแรก ชาวล้านนามีศรัทธาเละเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างวัดและพระพุทธรูปไว้เป็นที่เคารพสักการะแทนองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า คติความเชื่อการสร้างพระเจ้าทันใจของชาวล้านนา พบว่าการสร้างพระเจ้าทันใจนั้น พระเจ้าทันใจนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยและปางประทานพร พระเจ้าทันใจ หมายถึงพระพุทธรูปที่ใช้เวลาสร้างได้สำเร็จภายใน ๑ วัน จะเริ่มพิธีตั้งแต่เที่ยงคืนเป็นต้นไป จนสามารถสร้างองค์พระได้สำเร็จก่อนพระอาทิตย์ตกดินของวันถัดไป และสามารถทำพิธีพุทธาภิเษกได้ในเย็นอีกวันหนึ่ง การสร้างพระพุทธรูปนั้นมีขั้นตอนและพิธีกรรมที่ละเอียดซับซ้อน จึงเชื่อว่าเป็นเพราะพุทธานุภาพและอานุภาพแห่งเทพยดาจึงทำให้พิธีกรรมสำเร็จได้ภายใน 1 วัน นอกจากนั้นการสร้างพระเจ้าทันใจยังเป็นการทดสอบความพร้อมเพรียงของชุมชนได้อีกด้วย

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. (2530). เมืองน่านโบราณคดี ประวัติศาสตร์และศิลปะ. น่าน: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน.

จตุพร วรวัชรพงศ์. (2549). “ที่มาของพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะขอมที่พบในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัชวาล อัชฌากุล. (2561). “คติการสรางพระพุทธรูปทรงเครื่องในสังคมไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทน ตนมั่น [ปริรรต]. (2514). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี.

พระรัตนปัญญาเถระ. (2501). ชินกาลมาลีปกรณ์. แปลโดย แสงมนวิทูร. พระนคร: กรมศิลปากร.

พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย). (2560). “การเมืองเรื่องพระพุทธรูป”. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (1) : 241-256

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2519). ตำนานมูลศาสนา ฉบับวัดป่าแดง เชียงใหม่. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาเละมนุษย์วิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2539). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับ 700 ปี. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

ริดา สาระขา .(ม.ป.ป.). การศึกษาบทบาทและหน้าที่ของตำนานประวัติศาสตร์ ของอาณาจักรเชียงใหม่. ในรวมบทความประวัติศาสตร์ เล่มที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สมาคมประวัติศาสตร์.

วิโรจ นาคชาตรี. (2558). “ความเชื่อเรื่องปาฏิหาริย์พระเจ้าทันใจ : ศึกษาเฉพาะกรณีวัดยอดแก้วศรีบุญเรือง”. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 34 (1) : 47-64.

ศศิ ยุกตะนันทน์. (2532). “คตินิยมการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยอยุธยา”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สงวน โชติสุขรัตน์. (2515). ตำนานพระแก่นจันทน์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2539). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด.

สิงฆะ วรรณสัย. (2531). ตำนานพระธาตุหริภุญชัย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.

อานันท์ กาญจนพันธ์และคณะ. (ม.ป.ป.). ตำนานพระยาเจืองต้นฉบับใบลาน วัดเหมืองหม้ออำเภอเมือง จังหวัดแพร่. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และศูนย์ส่งเสริมและศึกษาวัฒนธรรมลานนาไทย วิทยาลัยครูเชียงใหม่.

ฮัสส์ เพนธ์. (2519). คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี.
เผยแพร่แล้ว
2023-06-30